วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ประตูชัยของฝรั่งเศส *-*




Arc de triomphe de l'Étoile
ประตูชัยฝรั่งเศสอันยิ่งใหญ่อลังการ เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปเมื่อ ปี ค.ศ. 1667 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 ที่ทรงมีพระบัญชาให้สร้างถนนเพื่อเข้าสู่สวน Jardin des Tuileries ที่อยู่ติดกับพระราชวังจนมาถึงรัชสมัยของ นโปเลียน โบนาปาร์ต(นโปเลียนที่ 1) จอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสซึ่งนำกองทัพที่แข็งแกร่งชนะศึกสงครามมากมาย เมื่อนโปเลียน โบนาปาร์ตเดินทางผ่านถนนเส้นนี้ก็ทรงดำริให้สร้าง ประตูชัยเพื่อสดุดีแก่แก่วีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศสกองทัพฝรั่งเศส จากนั้นจึงมีการเริ่มสร้างประตูชัยขึ้นในปี ค.ศ. 1806 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1836 โดยมี ฌอง ชาลแกร็ง เป็นผู้ออกแบบประตูชัยฝรั่งเศส ดูโดดเด่นอลังการ งดงามไปด้วยงานศิลปกรรมแบบนีโอคลาสสิคที่ได้ดัดแปลงมาจากแบบโรมันโบราณ มีความสูงราว 50 เมตร และกว้าง 45 เมตรจากประตูชัยมาต่อกันที่ถนนชองป์ เอลิเซ่ที่อยู่คู่กัน ถนนสายนี้เป็นแหล่งช้อปปิ้งชื่อดัง มากไปด้วยร้านขายของแบรนด์ต่างๆ ซึ่งก็คงเป็นที่ถูกอกถูกใจของบรรดาสาวน้อย-สาวใหญ่ผู้พิสมัยการช้อปปิ้ง



นอกจากเป็นถนนสายช้อปปิ้งแล้ว ชองป์ เอลิเซ่ ต้นแบบแห่งถนนราชดำเนินยังเป็นถนนสายงามที่ยามค่ำคืนจะเพริศแพร้วไปด้วยแสงสีจากไฟดวงที่ประดับประบนถนนสายนี้ ซึ่งก็ทำให้คนที่ไม่ชอบการช้อปปิ้งเดินชมกันเพลินตาดีไม่น้อยอีกจุดหนึ่งที่เป็นไฟล์ทบังคับแห่งปารีสว่าไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงก็คือ พิพิธภัณฑ์ ลูฟ ที่อยู่ไม่ไกลกันลูฟ เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดของโลก นั่นก็คือพระราชวัง Palais du louvre เมื่อมาถึงยังลูฟสิ่งแรกที่เตะตาเรามากๆก็คือ พีระมิดแก้ว ที่ใครได้ดู“รหัสลับดาวินชี” อาจแอบคิดเล็กน้อยถึงปานกลางว่าใต้พีระมิดแก้วอาจมีสิ่งสำคัญระดับเขย่าภพสะเทือนโลกซ่อนอยู่



ประวัติ
ประตุ๖ชัยฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่โด่งดังที่สุดของกรุงปารีส ได้ถูกมอบหมายให้สร้าง ปี พ.ศ. 2349 หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับชัยชนะในยุทธการเอาสเตอร์ลิทซ์ กว่าจะวางรากฐานของการก่อสร้างก็ใช้เวลาเกือบ 2 ปี และในปี พ.ศ. 2353 เมื่อจักรพรรณดินโปเลียนที่ 1 เสด็จกรุงปารีสจากทิศตะสวันตกพร้อมด้วยเจ้าสาวอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย ประตูชัยฝรั่งเศสก็ถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ในแบบจำลองเท่านั้นเอง สถาปนิกฌอง ชาลแกร็งได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2354 ดังนั้นอูยงจึงได้ดูแลงานนี้ต่อมา ในช่วงราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู การก่อสร้างได้หยุงชะงักลงและไปเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระหลุยส์-ฟิลิปป์ ในระหว่าง พ.ศ 2376 - พ.ศ.2379
โดยสถาปนิกคือกูสต์ ต่อมาคืออูโยต์ภายใต้การดูแลของหลุยส์-เอเตียนน์ เดอ ตูรี (Louis-Étienne Héricart de Thury)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น