จากยุคก่อนหน้านี้ (สมัยเรอเนอร์สซองส์) สุ่มแบบต่างๆได้เข้ามามีบทบาทกับการแต่งตัวของสาวๆ มาถึงยุคนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่ว่าจะมีลักษณะเปลี่ยนไปเล็กน้อยคือด้านหน้าจะแบนลง เด้งไปป่องด้านหลังแทน ตัวกาวน์ (เสื้อตัวนอก) จะเย็บรวมบอดิซ (bodice) ติดที่เอวแล้วเปิดด้านหน้าไว้ ตรงที่เปิดไว้จะใช้ผ้ารูปสามเหลี่ยมหัวกลับยาวๆ ที่เรียกว่า "สตอมัคเคอร์" (stomacher) เสริมกระดูกดุนให้แข็งๆ แล้วปักลาย หรืออัดด้วยดอกไม้ปลอมให้แน่น หรือประดับด้วยผ้าลูกไม้ แบบที่นิยมที่สุดคือการปิดด้วยริบบิ้นถักสลับไปมา เรียกว่าแบบ "เอแชล" (Eschelle: ขั้นบันได)
แขนเสื้อที่ยาวจรดข้อศอกประดับจีบลูกไม้ลอนฟูเรียกว่า "อังกายัง" (Engageants) แต่ในช่วงต้นของยุคบาโรก จะนิยมแขนเสื้อแบบโป่งพองฟูฝอย โดยใช้ริบบิ้นมัดเป็นช่วงๆ (นึกถึงแหนมสิตัว ,,=w=,,) แขนแบบนี้เรียกว่า "แขนวิราโก" (Virago sleeves)
แขนวิราโกกับสุ่มแบบกางออกข้าง สังเกตได้ว่ากระโปรงจะกว้างมากเพื่อที่สาวๆ จะได้สามารถอวดลายผ้าอลังการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทรงผมที่นิยมในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายแบบ เริ่มจากการหวีเปิดหน้าผาก ตลบผมไปด้านหลังแล้วม้วนเป็นลอนกุนเชียงเล็กๆ เก็บไว้ แบบนี้เรียกว่า "ทรงหัวแกะ" จะเห็นได้จากภาพต่างๆ ด้านบน ยกเว้นภาพเด็กผู้หญิงที่สวมกระโปรงแขนวิราโก เธอไว้ผมแบบ "เฮอร์ลูเบอร์ลู"
ช่วงท้ายปลายยุค นอกจากสาวๆจะประดับตัวเสื้อกับกระโปรงแบบมหาศาลบานทะโรด ชนิดที่หนักมากจนต้องอาศัยห่วงเหล็กมาช่วยค้ำชุดแล้ว ทรงผมก็อลังการไม่แพ้กัน แฟชั่นสุดเก๋คือทรงแบบ "ฟองตางเก" (Fontange) โดยการเกล้าผมสูงไว้กลางศีรษะ มัดโบเล็กๆ หลายอันด้านหน้า จากนั้นประกบด้วยลูกไม้จีบเป็นแผง 3 - 4 ชั้น วนไล่ขึ้นไปเป็นยอด ด้านหลังกับด้านข้างทิ้งปอยหยิกห้อยและผูกโบว์ยาว
.
สไตล์โรโกโก (Rococo ~1700 - 1800)
พูดถึงโรโกโก ยายดาว่าสนุกที่สุดก็คือทรงผม (หัวเราะ) ทรงผมในยุคนี้อลังการบานทะโรดมากก-กกก เรียกว่ายืนอยู่หัวคุ้ง คนท้ายคุ้งมองมาก็รู้ว่าเป็นใครนั่นแหละ (ฮา) ถ้าไม่เชื่อลองดูรูปนี้สิตัว~
อาจจะมีคนเคยได้ยินชื่อ "วิกแบบปอมปาดัวร์" (Pompadure) ก็คือวิกลงแป้งขาวแบบนี้แหละจ้ะ ในช่วงปี 1770 เป็นช่วงที่ขนาดของมันใหญ่ขึ้นถึงขีดสุด แบบที่สาวนำสมัยนิยมใส่กันจะเป็นวิกที่มีความสูงประมาณ 90 cm (3 ฟุตบนหัวน่ะ- - นี่ไม่รวมเครื่องประดับนะคะที่รัก) แบบเบาะๆ เบๆ ก็อยู่ที่ราวๆ 30 cm โครงสร้างของผมเป็นรูปหอคอย ใช้ขนนก อัญมณี ริบบิ้นเสียบๆ เข้าไป ...อา...ไม่อยากจะพูดเลยว่าที่จริงมีอะไรก็โปะลงไปนั่นแหละ (แม้แต่เรือยังโปะไปแล้วนี่คะตะเอง =w=)
ส่วนเสื้อผ้าจะเริ่มมีการแบ่งเป็นกาว์นกับชุดเสื้อผ้า 2 ชิ้น แบบที่นิยมกันมีอยู่ 3 แบบคือ โรบ อะลา ฟรองเซส โรบ อะลองเกลส และโรบ อะลา โปโลเนส
โรบ อะลา ฟรองเซส(Robe a' la francaise)เป็นแบบที่นิยมในช่วง 1730 - 1780 เป็นกาว์นที่ตัดเย็บแบบมีจีบโป่งด้านหลังและรัดรูปด้านหน้า ชายด้านหลังที่ปล่อยยาวนี้เรียกว่า "วาโต แบค" (Watteau back)ชุดแบบนี้สาวฝรั่งเศสนิยมกันมาก แต่มาเลิกฮิตไปในช่วงหลังเมื่อมีหมอนหนุนสะโพกเข้ามา
โรบ อะลองเกลส(Robe a' l'anglaise)เป็นแบบที่รัดรูปทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แบบนี้นิยมในอังกฤษและอเมริกา และได้รับความนิยมไปจนจบสมัย
โรบ อะลา โปโลเนส (Robe a' la polonaise)เป็นชุดชั้นนอกและเพตติโคทที่มีห่วงกลมรองรับเย็บติดกับกระโปรงในลักษณะที่ชั้นนอกพองฟูเหมือนกับห่อกระโปรงตัวในอยู่ ความสูงของตัวโปโลเนสจะสูงประมาณข้อเท้า ไม่กองเรี่ยพื้น
นอกจากนี้ ยังมีแฟชั่นแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก เช่นการประยุกต์ชุดขี่ม้าของสุภาพบุรุษมาให้สุภาพสตรีสวมใส่ แต่ประดับประดาอย่างสวยงาม ชุดแบบนี้เรียกว่า "เรดิงโกท" (Redingote) ลักษณะก็จะคล้ายกับโค้ทยาวตัวใหญ่ (greatcoat) ที่มีปกแบะออก นอกจากนี้ยังนิยมสวมแจ็กเกตกับกระโปรง แจ็กเกตจะมีลักษณะรัดรูปทรงบอดิซแล้วบานออกใต้เอว เรียกว่า "กาซาแก็ง" (Casaquin)
กาซาแก็งกับกระโปรงผ้าลินอน (โพลีเอสเตอร์ผสมลินิน) ปักลวดลาย ที่คอสอดผ้าพันคอเนื้อบางที่เรียกว่า "ฟิชู" (Fichu)
เรดิงโกท - กึ่งๆ จะเป็นชุดขี่ม้าของคุณหนูในยุคนั้น แต่สามารถใส่อยู่บ้านได้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น