แต่บัดนี้มีผู้พบหลักฐานด้านประวัติศาสตร์เสียแล้วว่า พระองค์ หาได้สิ้นพระชนมชีพอย่างนักโทษ บนเกาะเซ็นต์เฮเลน่าอย่าง อ้างว้างว้าเหว่ ตามที่ทราบกันมาไม่ หากสิ้นพระชนม์ที่อื่นในเวลาหลังจาก วันสวรรคตตามประวัติศาสตร์ หลายปี และในฐานะที่มิใช่นักโทษการเมืองของอังกฤษเสียด้วย
ที่เป็นปริศนาน่าขบคิดก็คือ เรื่องนี้เป็นไปได้จริงหรือไม่ ประการใด? ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม สิ่งหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ส่วนมาก ยอมรับกันก็คือ พระเจ้านโปเลียน โบนาปาร์ต นั้นทรงเป็นนักรบ ผู้ยิ่งใหญ่ ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เป็นที่เคารพยำเกรง แก่ทวยทหารมากหน้าและ แม้ในยามที่ทรงสูญสิ้นอำนาจวาสนา เสด็จไปประทับอย่างว้าเหว่ที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่าในมหาสมุทร แอตแลนติก หลังจากทรงแพ้สงครามที่วอเตอร์ลูในปี ค.ศ.1815 แล้ว ก็ใช่ว่าจะทรงไร้เสียซึ่งมิตรสนิทผู้ศรัทธานับถือพระองค์เลย
และมิตรเหล่านั้นล้วนมั่งคั่งและมีอำนาจพอที่จะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้น แม้กระทั่งการลอบพาองค์นโปเลียนหนีออกจากเกาะที่ไม่มีทางหนี!
การหลบหนีจาก st. helena
เขาชื่อ ฟรังซัวส์ อูยีน โรโบด์ เกิดที่หมู่บ้านบาลีย์กูต์ เมื่อปี ค.ศ.1771 หลังจากพระเจ้านโปเลียนทรงแพ้ สงครามและเสด็จนิราศ ไปสู่เกาะเซ็นต์เฮเลน่า ในปี 1815 นั้น โรโบด์ก็กลับไปใช้ชีวิตเงียบๆ อยู่ที่หมู่บ้านบาลีย์กูต์ ของเขาตามเดิม แต่อยู่ที่นั่นได้เพียง 3 ปี เขาก็มีอันหายหน้าหายตา ไปจากหมู่บ้านโดย ไม่มีใครรู้ระแคะระคาย แม้แต่ลูกเมียก็พากันหุบปากแน่น บอกกับใครๆ ที่มาถามไถ่ว่าสามีไปทะเลเท่านั้น
น่าสังเกตยิ่งขึ้นไปอีกก็คือเรอวารด์ ไม่ พอใจ และหลบหน้าไปทุกทีที่ใครๆ เกิดล้อเขาว่าเป็น “องค์เอมเพอเรอร์” และแล้วต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1821 ที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่า บุคคลผู้ที่ใครๆ รู้จักในนามของอดีตพระจักรพรรดินโปเลียนก็สิ้นพระชนม์ ด้วยโรคมะเร็งในพระนาภี
ประวัติศาสตร์พากันบันทึกไว้ตรงกันหมดทั้งโลกว่า พระเจ้านโปเลียนสิ้นพระชนม์ ที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่าในปี ค.ศ.1821
ทางด้านเมืองเวโรนา นายเรอวารด์ผู้มีหน้าตาเหมือนนโปเลียนยังคงพำนักอย่าง สุขสบายอยู่ที่นั่น จนกระทั่งต่อมาอีก 2 ปี คือในปี ค.ศ. 1823 ก็มีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับเขา นั่นคือ อยู่ๆ ในคืนหนึ่งก็มีรถม้าหรูหรา มาจอดหน้าร้านของเรอวารด์ มีชายสองคนลงจากรถมายื่นจดหมายให้เขา นายเปตรุซซี่หุ้นส่วนสำคัญมองเห็นหน้า เรอวารด์เคร่งเครียดด้วยแวว วิตกกังวลใหญ่หลวง ต่อจากนั้นก็เรียกเขา เข้าไปพบ
บุคคลที่ใครๆรู้จักในนามเรอวารด์เจ้าของร้านเพชร ยื่นซองจดหมายหนาหนักปิดผนึกแน่นหนาให้เปตรุซซี่แล้วสั่งว่า “เพื่อนยาก ฉันต้องไปธุระสักชั่วระยะหนึ่ง ถ้าฉันไม่กลับมาภายในสามเดือน คุณจงนำจดหมายนี้ไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสแล้วพระองค์ ก็จะประทานรางวัลให้อย่างงาม แต่จำไว้นะว่า ก่อนที่จะถึงกำหนด 3 เดือน อย่าเปิดจดหมายออกอ่านเป็นอันขาด”
ถ้าเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ก็คงตัดภาพไปสู่ เหตุการณ์อีกอย่าง ซึ่งเกิดขึ้น ณ บริเวณพระราชวังเชินบรูนน์ในประเทศออสเตรีย
เป็นคืนวันที่ 4 กันยายน 1823 ทหารรักษาพระราชวังมองเห็นเงาบุรุษลึกลับคนหนึ่งปีนกำแพงวังเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน ซึ่งโอรสของนโปเลียน โบนาปาร์ต ประชวรหนักอยู่ด้วยโรคอีดำอีแดง ทหารยามจึงยิงขู่ออกไป เผอิญกระสุนถูกบุรุษผู้นั้นเข้าอย่างจังถึงกับล้มลงเสียชีวิตทันที
ศพชายลึกลับถูกนำไปยังกระท่อมในสวนแล้วเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในวังก็มาตรวจดู พอเห็นรูปร่างหน้าตาของคนตายเข้าเท่านั้น เจ้าหน้าที่ดังกล่าวก็หูตาเหลือก รีบสั่งให้ปิดล็อกประตู หน้าต่างกระท่อมเป็นการใหญ่ ต่อจากนั้นใครต่อใครก็วนเวียนกันมาดูศพราวกับว่าเป็นคนสำคัญเต็มประดา รวมทั้งเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียนนาด้วย ต่อมาอีกไม่นาน ศพชายคนนั้น ก็ถูกนำเข้าไปภายในพระราชวังเชินบรูนน์ และฝังไว้ในที่เดียวกับสุสานประจำราชวงศ์ ท่านผู้อ่านพอจะเดาอะไรออกรางๆ แล้วใช่ไหมเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้?
ทางด้านนายเปตรุซซี่ก็เฝ้ารอการกลับของหุ้นส่วนของเขาจนกระทั่ง 3 เดือนผ่านไปก็ไม่มีวี่แววนายเรอวารด์กลับมาสักที เขาเกือบจะทำตามคำสั่งอยู่แล้ว คือนำจดหมายปิดผนึกนั้นไป ถวายพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส ก็พอดีมีเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่จากพระราชสำนักฝรั่งเศสมาดั้นด้นตามหาเปตรุซซี่จนพบ มอบเงินให้จำนวนมากถึง 100,000 คราวน์เพื่อแลกกับจดหมายฉบับนั้น พร้อมทั้งขอให้เย็บปากตัวเอง ซึ่งเปตรุซซี่ก็ทำตาม จึงไม่มีใครรู้ความลับเรื่องนี้เลยนอกจากต่อมาในภายหลัง ขอให้เราปะติดปะต่อเหตุการณ์ที่น่า สับสนนี้ดู
เป็นที่รู้กันดีในหมู่ข้าราชบริพาร ซึ่งเฝ้านโปเลียนอยู่ที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่าว่า ในระยะหลังๆ นี้ว่า พระเจ้านโปเลียนของตนมีพระจริยาวัตรผิดไปจากเดิมมาก ทรงมีความจำเสื่อมอย่างร้ายแรงไม่อาจจดจำอะไรได้แม้แต่รายละเอียดของ สงครามซึ่งทรงมีชัยและปราชัย สุรเสียงก็ไม่เหมือนเดิม ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ ลายพระหัตถ์ผิดไปจากเดิมด้วย อีกอย่างหนึ่งที่ยืนยันความผิดปกติของนโปเลียนในตอนหลังนี้ก็คือ บรรดาหมอที่มารักษาโรคมะเร็งให้นั้น พากันถวายความเคารพนับถือน้อยจนแทบไม่มีเลย ผิดกับในสมัยที่มาอยู่เกาะใหม่ๆ ในปี 1815 ซึ่งใครๆ ถวายความเคารพสูงสุดในฐานะพระจักรพรรดิทุกประการ
จะเป็นไปได้ไหมที่ว่าบรรดาหมอเหล่านั้นรู้ดีว่าผู้ที่เขารักษามิใช่พระจักรพรรดิที่แท้จริง? เหตุการณ์สอดคล้องอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระหว่างปี 1815 ถึงปี 1818 นั้น เกาะเซ็นต์เฮเลน่าอยู่ใต้การควบคุมดูแลของนายพลกูร์การด์ผู้เข้มแข็งและชิงชังนโปเลียน แต่พอถึงปี 1818 นายพลคนนี้ก็ถูกโยกย้ายไปที่อื่น มีนายพลคนใหม่ชื่อแบร์ตรองมาแทน นายพลแบร์ตรองไม่ได้เกลียดชังนโปเลียนอะไรนัก และการควบคุมดูแลก็ลดหย่อนลง...ท่านผู้อ่านอย่าลืม ว่าในปีนี้เองที่ฟรังซัวส์ โรโบด์ ผู้มีหน้าตาเหมือนนโปเลียนได้หายไป จากบ้านที่บาลีย์กูต์ และชายแปลกหน้านามเรอวารด์ไปโผล่ขึ้นที่เมืองเวโรนาในอิตาลี
พ่ายแพ้ยับเยินจากการรุกรานรัสเซีย ในปี 1812
นอกจากนั้น ในปีเดียวกันนี่เองภริยาของนายพลแบร์ตรองผู้นิยมนโปเลียน ก็เขียนจดหมายลับไปถึงเพื่อนว่า “...เราทำสำเร็จ นโปเลียนเสด็จออกจากเกาะเซ็นต์เฮเลน่าแล้ว!” จึงน่าจะเป็นไปได้ที่ว่า ด้วยความช่วยเหลือของมิตรผู้มั่งคั่งและเรืองอำนาจ ฟรังซัวส์ โรโบด์ ผู้คล้ายคลึงนโปเลียน ได้ไปจำขังอยู่บนเกาะแทนองค์พระจักรพรรดิ ส่วนนโปเลียนที่แท้จริง เสด็จไปสู่อิสรภาพที่เมืองเวโรนา ในนามของนายเรอวารด์นั่นเอง
ส่วนบุรุษลึกลับที่ถูกยิงตายในบริเวณพระราชวังเชินบรูนน์ ซึ่งโอรสของนโปเลียน ประชวรหนัก อยู่นั้น ก็คงไม่ใช่ใคร คือนโปเลียนนั่นเอง ทรงได้รับข่าวประชวรของ โอรสโดยบุรุษผู้มากับรถม้า ซึ่งนายเปตรุซซี่มองเห็นผู้นำข่าวมาถวาย นโปเลียนจึงรีบร้อนเสด็จไปเยือนโอรสจนต้องประสบกับวาระสุดท้าย อันน่าเศร้าสลดและไม่คาดฝัน ณ บริเวณพระราชวังเชินบรูนน์ นั่นเอง ที่จริงเรื่องราวของบุรุษผู้ถูกยิงตายนี้ อาจไม่มีใครคิดลึกไปว่าเป็นองค์นโปเลียนหากข้อเท็จจริง อย่างหนึ่งจะไม่เปิดเผยขึ้นในปี ค.ศ.1956
สงครามวอเตอร์ลู ค.ศ.1815
นั่นคือ คณะแพทย์ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งประกาศว่า ได้มีการตัดเอาลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง ของนโปเลียนเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ทว่า ที่ ลำไส้นั้นกลับปรุเป็นรูอย่างน่าประหลาดใจ อะไรก็ไม่ร้ายเท่า รูนั้นเป็นรูกระสุนปืนชัดๆ...ก็คงเป็นกระสุนที่ทหารรักษาวัง ยิงเอาตอนที่ทรงปีนเข้า พระราชฐานชั้นในนั่นเอง ถึงตรงนี้มีข้อกังขาว่า ไหนๆ นโปเลียนก็ทรงหนีออกจากเกาะได้อย่างสง่าผ่าเผย ทำไมจึงไปจนมุมเอาง่ายๆ ไม่น่าเชื่อ และการลอบปีนพระราชวังก็ไม่น่าจะเป็นวิสัยกษัตริย์เลย ในเมื่อหนีออกจากเกาะซึ่งไม่มีทางหนียังทำได้สำเร็จ สำมะหาอะไรกับการเข้าสู่พระราชวัง เชินบรูนน์ ทรงสามารถที่จะดำเนินเข้าไปอย่างผ่าเผยได้ทุกเมื่อ ไม่น่าจะปีนกำแพงให้ เสื่อมเสียพระเกียรติยศเลย
และข้อพิสูจน์ประการสุดท้ายมีอยู่ที่ทะเบียนท้องถิ่นของหมู่บ้านบาลีย์กูต์ ที่นั่นบันทึกไว้ว่า ฟรังซัวส์ โรโบด์ ถึงแก่กรรมที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่า โดยไม่ยอมบอกวันเดือนปีที่ตาย...คนที่รู้เรื่องนี้จึงแน่ใจว่า โรโบด์ตายที่เกาะเซ็นต์ เฮเลน่า ในฐานะที่เป็นนโปเลียนโบนาปาร์ต!
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น