วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ภาษาฝรั่งเศสวันละนิด จ้า + +


มารู้จักตัวอักษรภาษาฝรั่งเศสกันค่า....ก่อนอื่นเริ่มต้นด้วยการอ่านออกเสียงตัวอักษรภาษาฝรั่งเศสกัน เหมือนภาษาอังกฤษทุกอย่างแต่อ่านไม่เหมือนกัน


A อา B เบ C เซ D เด E เออ F เอ็ฟ G เจ H อ๊าช I อี J จี K กา L แอล M แอม N แอน O โอ P เป Q กู R แอร

( ออกเสียงในลำคออะ ) ตัวนี้ยากหน่อย S เอส T เต U อืว V เว W ดู๊บเบล่อะเว X อิกซ์ Y อิแกร็ก Z แซ่ด


ภาษาฝรั่งเศสนั้นมีสระเช่นกันค่ะ คือ Aอา Eเออ Iอี Oโอ Uอู Yอิแกร็ก


เรามาเริ่มเรียน ฝรั่งเศส กันเลยค่ะ...คำทักทาย

Bonjour บงชูร เป็นการทักทายตั้งแต่เช้าจนถึงตอนเย็น

Bonsoir บงซัวร เป็นการทักทายช่วงเย็น - ค่ำ


เวลาเราจะพูดเพื่อแวดงความสุภาพ

เรามักจะตามด้วยคำว่า Monsieur เมอซิเออ เมื่อเราทักคนที่เป็นผู้ชาย

Madame มาดาม คุณผู้หญิง ที่แต่งงานแล้ว

Mademoiselle มาดมัวแซล นางสาว ค่ะ


แต่บางที่ถ้าเราเจอคนที่ สนิทกันแล้ว เราไม่ค่อยทักว่า Bonjour กันนะครับ ส่วนใหญ่ใช่ Salut ซาลู หลังจากการทักทายแล้วเรามาถามสุขภาพกันดีกว่าค่ะเรามักจะถามว่า Comment allez-vous? กอมมอง ตาเล่วู้ สบายดีมั้ยค๊าบบ/ค๊า

เราก็จะมักตอบว่า Bien, merci เบียง แมกซี่ สบายดีๆ ** Merci แปลว่าขอบคุณครับ/ค่ะ พูดติดปากไว้บ่อยๆค่ะ

ประตูชัยของฝรั่งเศส *-*




Arc de triomphe de l'Étoile
ประตูชัยฝรั่งเศสอันยิ่งใหญ่อลังการ เรื่องนี้คงต้องย้อนกลับไปเมื่อ ปี ค.ศ. 1667 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 17 ที่ทรงมีพระบัญชาให้สร้างถนนเพื่อเข้าสู่สวน Jardin des Tuileries ที่อยู่ติดกับพระราชวังจนมาถึงรัชสมัยของ นโปเลียน โบนาปาร์ต(นโปเลียนที่ 1) จอมทัพผู้ยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสซึ่งนำกองทัพที่แข็งแกร่งชนะศึกสงครามมากมาย เมื่อนโปเลียน โบนาปาร์ตเดินทางผ่านถนนเส้นนี้ก็ทรงดำริให้สร้าง ประตูชัยเพื่อสดุดีแก่แก่วีรชนทหารกล้าที่ได้ร่วมรบเพื่อประเทศฝรั่งเศสกองทัพฝรั่งเศส จากนั้นจึงมีการเริ่มสร้างประตูชัยขึ้นในปี ค.ศ. 1806 และเสร็จสิ้นในปี ค.ศ. 1836 โดยมี ฌอง ชาลแกร็ง เป็นผู้ออกแบบประตูชัยฝรั่งเศส ดูโดดเด่นอลังการ งดงามไปด้วยงานศิลปกรรมแบบนีโอคลาสสิคที่ได้ดัดแปลงมาจากแบบโรมันโบราณ มีความสูงราว 50 เมตร และกว้าง 45 เมตรจากประตูชัยมาต่อกันที่ถนนชองป์ เอลิเซ่ที่อยู่คู่กัน ถนนสายนี้เป็นแหล่งช้อปปิ้งชื่อดัง มากไปด้วยร้านขายของแบรนด์ต่างๆ ซึ่งก็คงเป็นที่ถูกอกถูกใจของบรรดาสาวน้อย-สาวใหญ่ผู้พิสมัยการช้อปปิ้ง



นอกจากเป็นถนนสายช้อปปิ้งแล้ว ชองป์ เอลิเซ่ ต้นแบบแห่งถนนราชดำเนินยังเป็นถนนสายงามที่ยามค่ำคืนจะเพริศแพร้วไปด้วยแสงสีจากไฟดวงที่ประดับประบนถนนสายนี้ ซึ่งก็ทำให้คนที่ไม่ชอบการช้อปปิ้งเดินชมกันเพลินตาดีไม่น้อยอีกจุดหนึ่งที่เป็นไฟล์ทบังคับแห่งปารีสว่าไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงก็คือ พิพิธภัณฑ์ ลูฟ ที่อยู่ไม่ไกลกันลูฟ เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดของโลก นั่นก็คือพระราชวัง Palais du louvre เมื่อมาถึงยังลูฟสิ่งแรกที่เตะตาเรามากๆก็คือ พีระมิดแก้ว ที่ใครได้ดู“รหัสลับดาวินชี” อาจแอบคิดเล็กน้อยถึงปานกลางว่าใต้พีระมิดแก้วอาจมีสิ่งสำคัญระดับเขย่าภพสะเทือนโลกซ่อนอยู่



ประวัติ
ประตุ๖ชัยฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในอนุสรณ์สถานที่โด่งดังที่สุดของกรุงปารีส ได้ถูกมอบหมายให้สร้าง ปี พ.ศ. 2349 หลังจากจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ได้รับชัยชนะในยุทธการเอาสเตอร์ลิทซ์ กว่าจะวางรากฐานของการก่อสร้างก็ใช้เวลาเกือบ 2 ปี และในปี พ.ศ. 2353 เมื่อจักรพรรณดินโปเลียนที่ 1 เสด็จกรุงปารีสจากทิศตะสวันตกพร้อมด้วยเจ้าสาวอาร์คดัชเชสมารี หลุยส์แห่งออสเตรีย ประตูชัยฝรั่งเศสก็ถูกสร้างขึ้นด้วยไม้ในแบบจำลองเท่านั้นเอง สถาปนิกฌอง ชาลแกร็งได้เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2354 ดังนั้นอูยงจึงได้ดูแลงานนี้ต่อมา ในช่วงราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู การก่อสร้างได้หยุงชะงักลงและไปเสร็จสิ้นในรัชสมัยพระหลุยส์-ฟิลิปป์ ในระหว่าง พ.ศ 2376 - พ.ศ.2379
โดยสถาปนิกคือกูสต์ ต่อมาคืออูโยต์ภายใต้การดูแลของหลุยส์-เอเตียนน์ เดอ ตูรี (Louis-Étienne Héricart de Thury)

ที่มาของวันโกหกโลก (April Fool's Day)


วันเอพริลฟูลส์ (April Fool's Day) หรือเรียกในชื่ออื่นว่า วันเมษาหน้าโง่, วันโกหกเดือนเมษายน, วันเทศกาลคนโง่ เป็นเทศกาลในวันที่ 1 เมษายน วันนี้เป็นวันที่จะอนุญาตให้โกหกต่อกันได้ โดยไม่ถือโกรธ ในหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับของวันนี้ อาจมีเหตุการณ์น่าตกใจ ตื่นเต้นเป็นหัวข้อข่าว แต่แล้วในวันรุ่งขึ้นต่อมา จึงได้เฉลยว่าข่าวที่ลงไปนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เทศกาลนี้เริ่มขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศสและเป็นที่นิยมกันไปทั่วโลก ในประเทศไทยเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ วันโกหก มีชื่อเรียกว่า วันเมษาฯ หน้าโง่ หรือ April’s Fool Day ประวัติของวันๆนี้ เริ่มต้นที่ประเทศฝรั่งเศส ในยุคศตวรรษที่ 16 ตอนนั้นชาวฝรั่งเศสมีวันปีใหม่ตรงกับวันที่ 1 เมษายนกระทั่งมาถึง ค.ศ.1562 โป๊ป เกรกอรี จึงกำหนดให้ชาวคริสต์ทั่วโลกฉลองวันปีใหม่พร้อมกันวันที่ 1มกราคมคราว นี้สมัยก่อน ข่าวสารไม่ได้กระจายรวดเร็วเหมือนสมัยนี้ คนบ้านนอกของฝรั่งเศสบางกลุ่มยังไม่รู้ แถมบางคนได้ยินแล้วก็ยังไม่เชื่อ เลยฉลองวันปีใหม่กันวันที่ 1 เมษาฯเหมือนเดิม ทำให้พวกไม่ตกยุคเย้ยหยันพวกตกยุคว่า “หน้าโง่” แถมยังพยายามจะแกล้งหลอกคนกลุ่มนี้เพื่อความสนุกสนานอีกด้วยวันที่ 1 เมษาฯ ก็เลยกลายเป็นวันที่คนแกล้งหลอกกันด้วยการแต่งเรื่องอะไรก็ไดมาหลอกให้คน อื่นหลงเชื่อ จากนั้นค่อยเฉลยในตอนท้าย ซึ่งเรื่องที่เอามาหลอกนั้นจะต้องไม่ทำให้อีกฝ่ายถึงกับเลือดตกยางออก และคนที่ถูกหลอกจะต้องไม่โกรธด้วย เพราะถือว่า วันนี้เป็นวันพิเศษ ยกเว้นให้หนึ่งวัน

บอกรักแบบภาษาฝรั่งเศส**


ภาษาฝรั่งเศสคำอ่านคำแปลไทยภาษาอังกฤษ
Je t'aime.เชอแตม ฉันรักเธอ I love you.
Tu es très beau. ตู เอ แทร โบ เธอหล่อเหลือเกิน You are so handsome.

Tu es très belle. ตู เอ แทร แบล เธอสวยเหลือเกิน You are so beautiful.

Je t'adore. เชอ ตาดอค์ ฉันบูชาเธอ I adore you.

Je suis amoureux เชอ ซุย อามูเคอ เดอ ตัว ฉันหลงรักหล่อน I"m in love with you.

de toi.

Je suis amoureuse เชอ ซุย อามูเคอส เดอ ตัว ฉันหลงรักเขา I"m in love with you.

de toi.


Je suis fou de toi. เชอ ซุย ฟู เคอ ตัว ฉันคลั่งไคล้หล่อนเหลือเกิน I"m crazy about you.

Je suis folle de toi. เชอ ซุย โฟล เดอ ตัว ฉันคลั่งไคล้เขาเหลือเกิน I"m crazy about you.

*สังเกตได้จากคำแปลนะคะว่าคนพูดเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง ถ้ารักเขา คนพูดก็ควรจะเป็นผู้หญิง ถ้ารักหล่อน คนพูดก็ควรจะเป็นผู้ชาย
คำศัพท์เกี่ยวกับความรัก

l'amour (m.)* ลามูค ความรัก Love

mon petit ami มง เปอติ ตามี แฟน(ผู้ชาย) my boyfriend


ma petite amie มา เปอติต ตามี แฟน(ผู้หญิง) my grilfriend

mon chéri มง เชคี คนรัก(ผู้ชาย) my darling

ma chérie มา เชคี คนรัก(ผู้หญิง) my darling

un bouquet de fleurs เอิง บูเก้ เดอ เฟลอด์ ดอกไม้ 1 ช่อ a bouquet of flowers

une rose อูน โคส ดอกกุหลาบ 1 ดอก a rose

une boîte de chocolat อูน บ้วด เดอ ช๊อคโกลา ช๊อคโกแล็ต 1 กล่อง a box of chocolate

*************************************************************************************

===> หอไอเฟลสัญลักษณ์แห่งเมืองปารีส <===




ตลอดหลายยุคสมัย ผู้คนได้ท้ายทายข้อจำกัดทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม เพื่อความพยายามที่จะได้ใกล้คิดกับพระเจ้ามากขึ้น มีบางกลุ่มพยายามหาประโยชน์ใช้สอยจากหอคอยในการทำเสาอากาศ ภัตตาคาร แต่สิ่งดึงดูดใจที่แท้จริงกลับมาจากความคิดที่บริสุทธิ์มากกว่านั้น
หอคอยเป็นสิ่งที่แสดงถึงความทะเยอทยานของมนุษย์ และหอคอยที่โลกรักมากที่สุดคือ หอไอเฟล (Eiffel Tower) ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นหอคอยที่มีความสูงเสียดฟ้า มีความงามสง่า รูปร่างอ่อนช้อย ซึ่งสะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณของฝรั่งเศส หอไอเฟลได้รับการออกแบบและก่อสร้างในปี ค.ศ.1839 มันคือผลงานชิ้นเอกในการ -ฉลองการปฏิวัติฝรั่งเศสอันนองเลือดเมื่อ 100 ปีก่อนหน้า
14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 ท่ามกลางความต้องการที่จะปฏิวัติ ชาวปารีสได้เข้าโจมตีชนชั้นสูง บุกยึกคุกบัสติล ซึ่งมีผู้มีความคิดขัดแยงทางการเมืองถูกคุมขังเอาไว้ ผู้รัก-ชาติได้รวมตัวกันเพื่อต่อต้านชนชั้นปกครอง ซึ่งเป็นการสร้างพื้นฐานสำหรับการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยยุคใหม่
อีก 1 ศตวรรษหลังการปฏิวัติ ความภาคภูมิใจของฝรั่งเศสถูกบั่นทอนด้วย ความพ่ายแพ้ของกองทัพต่อเยอรมัน ในปี 1870 และก็ ความคิดที่จะจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ จึงเป็นหนทางอันยิ่งใหญ่เพื่อลืมความปวดร้าว และ เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ ความร่ำรวยของประเทศ จึงจำเป็นที่ต้องมีผลงานศิลปะชิ้นเอกที่อวดแก่ฝูงชน และจากความสำเร็จในยุคอุตสาหกรรมจึงนำเสนอความสำเร็จทางวิศวกรรม นั่นคือ หอคอย
หอคอยเหมือนเป็นสิ่งที่ชาญฉลาดทางเทคโนโลยี ในอดีตไม่เคยมีใครสร้างหอคอยที่สูงกว่า 1,000 ฟุต หลายคนพยายามลอง แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาก็มีการออกแบบไว้อยู่หลายแบบ แต่ก็ไม่เคยสร้างจริงขึ้นมา ฝรั่งเศสได้จัดการประกวดเพื่อออกแบบหอคอย แบบแรกถูกเสนอโดย เวอร์ริส คล็อกลิน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะวิศวกรของ กุสตาฟ ไอ-เฟล (Gustave Eiffel)
กุสตาฟ ไอเฟล เป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรชั้นนำของฝรั่งเศส ชื่อเสียงของเขาเกิดจาก การออกแบบสะพานที่เต็มไปด้วยจินตนาการ เขาค้นคว้าเกี่ยวกับแนวคิดในการออกแบบด้วยโครงสร้างโลหะ การที่มี กุสตาฟ ไอเฟล เข้ามาร่วมงาน จึงเป็นเครื่องรับประกันในเรื่องเงินทุนสนับสนุน และความสำเร็จของงาน วิศวกรหนุ่มของ กุสตาฟ ไอเฟล 2 คน คือ เวอร์ริส คล็อกลิน และ เอมิล นูลจิเย เริ่มแนวคิดในการสร้างหอคอยสูง 300 เมตร สำหรับงานแสดงสินค้าในปี ค.ศ.1890 ในปารีสเขาเริ่มร่างแบบโครงสร้างของหอ-คอยอย่างคร่าวๆ และขอให้สถาปนิกชื่อ สตีเฟน สเตาว์เธอร์ ออกแบบส่วนตกแต่งเพื่อเติม ซึ่งมีลักษณะเป็นช่อดอกไม้ โค้ง และมีปติมากรรมเล็กๆ น้อยๆ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากแนวคิดทางสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1887 ว่า สามารถสัมผัสกับท้องฟ้าในระดับที่เป็นไปไม่ได้ คือ 1,000 ฟุต
กุสตาฟ ไอเฟล ได้เห็นแบบแปลนและอนุมัติ เขาได้สนใจแนวคิดเกี่ยวกับหอคอยนี้ และได้ออกแบบส่วนตกแต่งเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเข้าไปด้วย การมีชื่อ กุสตาฟ ไอเฟล อยู่ในโครงการ ทุกคนรู้ผลลัพธ์ของการแข่งขันนี้ การมีสายสัมพันธ์ทางการเมืองและสังคมของกุสตาฟ ไอเฟล ทำให้มีความพร้อมที่จะผลักดันให้โครงการผ่านหน่วยงานปกครองของปารีสได้อย่างรวดเร็ว และทำให้โครงการจากแบบแปลนสำเร็จเป็นจริงได้ หอคอยซึ่งออกแบบจากความก้าวหน้าในยุคอุตสาหกรรม เป็น งานที่มีความท้าทายทางวิศวกรรม และ กุสตาฟ ไอเฟล จะได้แสดงให้เห็นถึงความความคิดสร้างสรรค์ของเขาที่เคยใช้ในการออกแบบมาแล้ว
28 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1887 กุสตาฟ ไอเฟล ได้เชิญแขกมากมายมาเป็นพยานในการก่อสร้าง เขาอายุ 53 ปี และหอคอยจะเป็นความสำเร็จที่สมบูรณ์แบบของเขา ในขณะที่พิธีการเริ่มขึ้น วิศวกร 50 คนต้องช่วยกันร่างแบบ จำนวน 5,300 แผ่นสำหรับคนงาน 132 คน ใช้ในพื้นที่ก่อสร้าง ต้องใช้เวลา 4 เดือน ในการทำฐานรากสำหรับขาของหอ-คอย เสา 2 ต้น ถูกติดตั้งบนฐานคอนกรีตหนา 6 ฟุตครึ่ง ที่ความลึก 23 ฟุตจากระดับดิน และมีขา 2 ข้างที่ใกล้กับแม่น้ำแซนมาก จึงต้องใช้เขื่อนโลหะกันน้ำ ป้องกันในขณะที่ทำการเทคอนกรีตบนพื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำบนพื้นที่สี่เหลี่ยมจตุรัสของฐานหอคอยมีความกว้างด้านละ 426 ฟุต จะมีขาของหอคอยทั้ง 4 ในแต่ละด้าน รองรับน้ำหนักของโครงสร้างโลหะกว่า 7,000 ตัน บนฐานจะเป็นฐานก่ออิฐซึ่งจะฝังสมอยึด 2 ตัวสำหรับขาแต่ละข้าง จากฐานนี้ ขาจะถูกขึ้นเป็นมุม 60 องศาในลักษณะคานโครงเหล็ก คานนี้ประกอบไปด้วยท่อนเหล็กและเหล็กแผ่นที่ถูกยึดติดกันที่ด้านข้าง โครงสร้างที่ได้จะมีความเข็งแรงมาก แต่มีนำหนักเบา ประกอบง่าย ใช้มาตรฐานเดียวกัน และ มีราคาไม่แพง เมื่อประกอบเสร็จจะใช้ชิ้นส่วนโลหะทั้งหมด 18,000 ชิ้น และหมุดยึดอีก 2 ล้าน 5 แสน ตัว เพื่อประกอบเป็นหอคอย ทั้งหมดใช้เพียงเหล็กท่อนแบนและแผ่นเหล็กในการประกอบ

หมุด 2 ล้าน 5 แสนตัว ที่ใช้ยึดโครงเหล็กของหอไอเฟล





วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2553

ไขปริศนาการสิ้นพระชนม์ของนโปเลียน

ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า หลังจากจอมจักรพรรดิ นโปเลียน ทรงแพ้สงครามครั้งหลังสุดแล้ว อังกฤษได้นำ พระองค์ไปกักไว้ ณ เกาะเซ็นต์เฮเลน่า อยู่นานถึง 6 ปี จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ด้วยสาเหตุอันใดยังไม่ประจักษ์ชัด แต่สันนิษฐานกันว่า ทรงถูกลอบวางยาพิษ
แต่บัดนี้มีผู้พบหลักฐานด้านประวัติศาสตร์เสียแล้วว่า พระองค์ หาได้สิ้นพระชนมชีพอย่างนักโทษ บนเกาะเซ็นต์เฮเลน่าอย่าง อ้างว้างว้าเหว่ ตามที่ทราบกันมาไม่ หากสิ้นพระชนม์ที่อื่นในเวลาหลังจาก วันสวรรคตตามประวัติศาสตร์ หลายปี และในฐานะที่มิใช่นักโทษการเมืองของอังกฤษเสียด้วย
ที่เป็นปริศนาน่าขบคิดก็คือ เรื่องนี้เป็นไปได้จริงหรือไม่ ประการใด? ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม สิ่งหนึ่งที่นักประวัติศาสตร์ส่วนมาก ยอมรับกันก็คือ พระเจ้านโปเลียน โบนาปาร์ต นั้นทรงเป็นนักรบ ผู้ยิ่งใหญ่ ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก เป็นที่เคารพยำเกรง แก่ทวยทหารมากหน้าและ แม้ในยามที่ทรงสูญสิ้นอำนาจวาสนา เสด็จไปประทับอย่างว้าเหว่ที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่าในมหาสมุทร แอตแลนติก หลังจากทรงแพ้สงครามที่วอเตอร์ลูในปี ค.ศ.1815 แล้ว ก็ใช่ว่าจะทรงไร้เสียซึ่งมิตรสนิทผู้ศรัทธานับถือพระองค์เลย
และมิตรเหล่านั้นล้วนมั่งคั่งและมีอำนาจพอที่จะทำอะไรก็ได้ทั้งสิ้น แม้กระทั่งการลอบพาองค์นโปเลียนหนีออกจากเกาะที่ไม่มีทางหนี!

การหลบหนีจาก st. helena

ก่อนจะกล่าวถึงเหตุการณ์ลำดับต่อไป ขอให้เรามาทราบกันถึงความลับเล็กๆน้อยๆ ที่รู้กันในหมู่ข้าราชสำนักฝรั่งเศสยุคนั้นก่อนดีกว่า นโปเลียนนั้นทรงมี “ตัวแทน” ที่รูปร่างหน้าตาคล้ายพระองค์อยู่ 2-3 คน ซึ่งโปรดให้ รับสนอง พระบัญชาใกล้ชิดอยู่ตลอดเวลา หนึ่งในจำนวนนั้นมีรูปร่างหน้าตาคล้ายพระองค์มากที่สุด อายุอานาม ก็มากกว่าองค์จักรพรรดิเพียง 2 ปี
เขาชื่อ ฟรังซัวส์ อูยีน โรโบด์ เกิดที่หมู่บ้านบาลีย์กูต์ เมื่อปี ค.ศ.1771 หลังจากพระเจ้านโปเลียนทรงแพ้ สงครามและเสด็จนิราศ ไปสู่เกาะเซ็นต์เฮเลน่า ในปี 1815 นั้น โรโบด์ก็กลับไปใช้ชีวิตเงียบๆ อยู่ที่หมู่บ้านบาลีย์กูต์ ของเขาตามเดิม แต่อยู่ที่นั่นได้เพียง 3 ปี เขาก็มีอันหายหน้าหายตา ไปจากหมู่บ้านโดย ไม่มีใครรู้ระแคะระคาย แม้แต่ลูกเมียก็พากันหุบปากแน่น บอกกับใครๆ ที่มาถามไถ่ว่าสามีไปทะเลเท่านั้น
ว่ากันว่า นโปเลียนมี ตัวแทนที่คล้ายพระองค์ อยู่ 2-3 คน
ในเวลาเดียวกันคือปี ค.ศ.1818 ที่เมืองเวโรนาในประเทศอิตาลี ก็มีชายแปลกหน้าท่าทางสง่าผ่าเผยและแต่งกายหรูหราคนหนึ่งเดินทางมาพำนักอยู่ ชายผู้นี้บอกใครๆ ว่าเขาเป็นชาวฝรั่งเศส ชื่อเรอวารด์ ลูกเมียตายหมดแล้ว จึงเดินทางมาหาความสงบในเมืองเล็กๆ แต่สวยงามแห่งนี้ โดยทำมาหากินเปิดร้านขายเครื่องเพชรพลอย โดยที่ไม่ได้สนใจต่อเพชรพลอยเท่าใดนัก กิจการส่วนใหญ่มอบให้นายเปตรุซซี่ ผู้เป็นหุ้นส่วนช่วยทำให้แทน ที่น่าประหลาดใจก็คือ นายเรอวารด์ผู้นี้มี รูปร่างหน้าตา ตลอดจนอายุคล้ายคลึง นโปเลียนมากที่สุดจนใครเห็นใครล้อ
น่าสังเกตยิ่งขึ้นไปอีกก็คือเรอวารด์ ไม่ พอใจ และหลบหน้าไปทุกทีที่ใครๆ เกิดล้อเขาว่าเป็น “องค์เอมเพอเรอร์” และแล้วต่อมาในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1821 ที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่า บุคคลผู้ที่ใครๆ รู้จักในนามของอดีตพระจักรพรรดินโปเลียนก็สิ้นพระชนม์ ด้วยโรคมะเร็งในพระนาภี
ประวัติศาสตร์พากันบันทึกไว้ตรงกันหมดทั้งโลกว่า พระเจ้านโปเลียนสิ้นพระชนม์ ที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่าในปี ค.ศ.1821
การเสียชีวิตที่มีเงื่อนงำของนโปเลียน ?

ทางด้านเมืองเวโรนา นายเรอวารด์ผู้มีหน้าตาเหมือนนโปเลียนยังคงพำนักอย่าง สุขสบายอยู่ที่นั่น จนกระทั่งต่อมาอีก 2 ปี คือในปี ค.ศ. 1823 ก็มีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับเขา นั่นคือ อยู่ๆ ในคืนหนึ่งก็มีรถม้าหรูหรา มาจอดหน้าร้านของเรอวารด์ มีชายสองคนลงจากรถมายื่นจดหมายให้เขา นายเปตรุซซี่หุ้นส่วนสำคัญมองเห็นหน้า เรอวารด์เคร่งเครียดด้วยแวว วิตกกังวลใหญ่หลวง ต่อจากนั้นก็เรียกเขา เข้าไปพบ
บุคคลที่ใครๆรู้จักในนามเรอวารด์เจ้าของร้านเพชร ยื่นซองจดหมายหนาหนักปิดผนึกแน่นหนาให้เปตรุซซี่แล้วสั่งว่า “เพื่อนยาก ฉันต้องไปธุระสักชั่วระยะหนึ่ง ถ้าฉันไม่กลับมาภายในสามเดือน คุณจงนำจดหมายนี้ไปถวายแด่พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศสแล้วพระองค์ ก็จะประทานรางวัลให้อย่างงาม แต่จำไว้นะว่า ก่อนที่จะถึงกำหนด 3 เดือน อย่าเปิดจดหมายออกอ่านเป็นอันขาด”

ชีวิตเดียวดายช่วงสุดท้ายที่เกาะ St. Helena ?
ถ้าเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ก็คงตัดภาพไปสู่ เหตุการณ์อีกอย่าง ซึ่งเกิดขึ้น ณ บริเวณพระราชวังเชินบรูนน์ในประเทศออสเตรีย
เป็นคืนวันที่ 4 กันยายน 1823 ทหารรักษาพระราชวังมองเห็นเงาบุรุษลึกลับคนหนึ่งปีนกำแพงวังเข้าสู่พระราชฐานชั้นใน ซึ่งโอรสของนโปเลียน โบนาปาร์ต ประชวรหนักอยู่ด้วยโรคอีดำอีแดง ทหารยามจึงยิงขู่ออกไป เผอิญกระสุนถูกบุรุษผู้นั้นเข้าอย่างจังถึงกับล้มลงเสียชีวิตทันที


ศพชายลึกลับถูกนำไปยังกระท่อมในสวนแล้วเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในวังก็มาตรวจดู พอเห็นรูปร่างหน้าตาของคนตายเข้าเท่านั้น เจ้าหน้าที่ดังกล่าวก็หูตาเหลือก รีบสั่งให้ปิดล็อกประตู หน้าต่างกระท่อมเป็นการใหญ่ ต่อจากนั้นใครต่อใครก็วนเวียนกันมาดูศพราวกับว่าเป็นคนสำคัญเต็มประดา รวมทั้งเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียนนาด้วย ต่อมาอีกไม่นาน ศพชายคนนั้น ก็ถูกนำเข้าไปภายในพระราชวังเชินบรูนน์ และฝังไว้ในที่เดียวกับสุสานประจำราชวงศ์ ท่านผู้อ่านพอจะเดาอะไรออกรางๆ แล้วใช่ไหมเมื่ออ่านมาถึงตรงนี้?

ทางด้านนายเปตรุซซี่ก็เฝ้ารอการกลับของหุ้นส่วนของเขาจนกระทั่ง 3 เดือนผ่านไปก็ไม่มีวี่แววนายเรอวารด์กลับมาสักที เขาเกือบจะทำตามคำสั่งอยู่แล้ว คือนำจดหมายปิดผนึกนั้นไป ถวายพระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส ก็พอดีมีเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่จากพระราชสำนักฝรั่งเศสมาดั้นด้นตามหาเปตรุซซี่จนพบ มอบเงินให้จำนวนมากถึง 100,000 คราวน์เพื่อแลกกับจดหมายฉบับนั้น พร้อมทั้งขอให้เย็บปากตัวเอง ซึ่งเปตรุซซี่ก็ทำตาม จึงไม่มีใครรู้ความลับเรื่องนี้เลยนอกจากต่อมาในภายหลัง ขอให้เราปะติดปะต่อเหตุการณ์ที่น่า สับสนนี้ดู

เป็นที่รู้กันดีในหมู่ข้าราชบริพาร ซึ่งเฝ้านโปเลียนอยู่ที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่าว่า ในระยะหลังๆ นี้ว่า พระเจ้านโปเลียนของตนมีพระจริยาวัตรผิดไปจากเดิมมาก ทรงมีความจำเสื่อมอย่างร้ายแรงไม่อาจจดจำอะไรได้แม้แต่รายละเอียดของ สงครามซึ่งทรงมีชัยและปราชัย สุรเสียงก็ไม่เหมือนเดิม ที่ร้ายกว่านั้นก็คือ ลายพระหัตถ์ผิดไปจากเดิมด้วย อีกอย่างหนึ่งที่ยืนยันความผิดปกติของนโปเลียนในตอนหลังนี้ก็คือ บรรดาหมอที่มารักษาโรคมะเร็งให้นั้น พากันถวายความเคารพนับถือน้อยจนแทบไม่มีเลย ผิดกับในสมัยที่มาอยู่เกาะใหม่ๆ ในปี 1815 ซึ่งใครๆ ถวายความเคารพสูงสุดในฐานะพระจักรพรรดิทุกประการ



จะเป็นไปได้ไหมที่ว่าบรรดาหมอเหล่านั้นรู้ดีว่าผู้ที่เขารักษามิใช่พระจักรพรรดิที่แท้จริง? เหตุการณ์สอดคล้องอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระหว่างปี 1815 ถึงปี 1818 นั้น เกาะเซ็นต์เฮเลน่าอยู่ใต้การควบคุมดูแลของนายพลกูร์การด์ผู้เข้มแข็งและชิงชังนโปเลียน แต่พอถึงปี 1818 นายพลคนนี้ก็ถูกโยกย้ายไปที่อื่น มีนายพลคนใหม่ชื่อแบร์ตรองมาแทน นายพลแบร์ตรองไม่ได้เกลียดชังนโปเลียนอะไรนัก และการควบคุมดูแลก็ลดหย่อนลง...ท่านผู้อ่านอย่าลืม ว่าในปีนี้เองที่ฟรังซัวส์ โรโบด์ ผู้มีหน้าตาเหมือนนโปเลียนได้หายไป จากบ้านที่บาลีย์กูต์ และชายแปลกหน้านามเรอวารด์ไปโผล่ขึ้นที่เมืองเวโรนาในอิตาลี




พ่ายแพ้ยับเยินจากการรุกรานรัสเซีย ในปี 1812
นอกจากนั้น ในปีเดียวกันนี่เองภริยาของนายพลแบร์ตรองผู้นิยมนโปเลียน ก็เขียนจดหมายลับไปถึงเพื่อนว่า “...เราทำสำเร็จ นโปเลียนเสด็จออกจากเกาะเซ็นต์เฮเลน่าแล้ว!” จึงน่าจะเป็นไปได้ที่ว่า ด้วยความช่วยเหลือของมิตรผู้มั่งคั่งและเรืองอำนาจ ฟรังซัวส์ โรโบด์ ผู้คล้ายคลึงนโปเลียน ได้ไปจำขังอยู่บนเกาะแทนองค์พระจักรพรรดิ ส่วนนโปเลียนที่แท้จริง เสด็จไปสู่อิสรภาพที่เมืองเวโรนา ในนามของนายเรอวารด์นั่นเอง
ส่วนบุรุษลึกลับที่ถูกยิงตายในบริเวณพระราชวังเชินบรูนน์ ซึ่งโอรสของนโปเลียน ประชวรหนัก อยู่นั้น ก็คงไม่ใช่ใคร คือนโปเลียนนั่นเอง ทรงได้รับข่าวประชวรของ โอรสโดยบุรุษผู้มากับรถม้า ซึ่งนายเปตรุซซี่มองเห็นผู้นำข่าวมาถวาย นโปเลียนจึงรีบร้อนเสด็จไปเยือนโอรสจนต้องประสบกับวาระสุดท้าย อันน่าเศร้าสลดและไม่คาดฝัน ณ บริเวณพระราชวังเชินบรูนน์ นั่นเอง ที่จริงเรื่องราวของบุรุษผู้ถูกยิงตายนี้ อาจไม่มีใครคิดลึกไปว่าเป็นองค์นโปเลียนหากข้อเท็จจริง อย่างหนึ่งจะไม่เปิดเผยขึ้นในปี ค.ศ.1956


สงครามวอเตอร์ลู ค.ศ.1815

นั่นคือ คณะแพทย์ชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งประกาศว่า ได้มีการตัดเอาลำไส้ส่วนที่เป็นมะเร็ง ของนโปเลียนเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ทว่า ที่ ลำไส้นั้นกลับปรุเป็นรูอย่างน่าประหลาดใจ อะไรก็ไม่ร้ายเท่า รูนั้นเป็นรูกระสุนปืนชัดๆ...ก็คงเป็นกระสุนที่ทหารรักษาวัง ยิงเอาตอนที่ทรงปีนเข้า พระราชฐานชั้นในนั่นเอง ถึงตรงนี้มีข้อกังขาว่า ไหนๆ นโปเลียนก็ทรงหนีออกจากเกาะได้อย่างสง่าผ่าเผย ทำไมจึงไปจนมุมเอาง่ายๆ ไม่น่าเชื่อ และการลอบปีนพระราชวังก็ไม่น่าจะเป็นวิสัยกษัตริย์เลย ในเมื่อหนีออกจากเกาะซึ่งไม่มีทางหนียังทำได้สำเร็จ สำมะหาอะไรกับการเข้าสู่พระราชวัง เชินบรูนน์ ทรงสามารถที่จะดำเนินเข้าไปอย่างผ่าเผยได้ทุกเมื่อ ไม่น่าจะปีนกำแพงให้ เสื่อมเสียพระเกียรติยศเลย
และข้อพิสูจน์ประการสุดท้ายมีอยู่ที่ทะเบียนท้องถิ่นของหมู่บ้านบาลีย์กูต์ ที่นั่นบันทึกไว้ว่า ฟรังซัวส์ โรโบด์ ถึงแก่กรรมที่เกาะเซ็นต์เฮเลน่า โดยไม่ยอมบอกวันเดือนปีที่ตาย...คนที่รู้เรื่องนี้จึงแน่ใจว่า โรโบด์ตายที่เกาะเซ็นต์ เฮเลน่า ในฐานะที่เป็นนโปเลียนโบนาปาร์ต!

ประวัติ coco chanel

ประวัติ Coco Chanel หรือชื่อจริง Gabrielle Bonheur ดีไซเนอร์ แฟชั่นโลก ที่ชอบไข่มุก เป็นชีวิตจิตใจ จากแฟ้ม ประวัติดีไซเนอร์ กล่าวว่า เกิดอยู่ที่ Saumur เมื่อปี 1883 แล้วตายเมื่อ 10 มกราคม 1971 อายุได้ 88 ปี โดยเธอ ต้องกำพร้า แม่ เมื่ออายุเพียง 12 ขวบ เธอเป็นผู้ปฏิวัติ วงการแฟชั่น ด้วยการได้พบเห็น แฟชั่นโบราณ แบบเก่าๆของ ผู้หญิง ไฮโซ ใส่หมวกใบใหญ่ๆ เสื้อมีคลุ่ยวุ่นวาย มาเป็นการใส่ชุดแบบ ยูนิฟอร์มสีดำเท่ห์ๆ Coco นั้น เป็นชื่อเล่นของ Gabrielle Bonheur ที่เธอได้มาตอนอายุ 18 ปี จากการร้องเพลง ไม่ใช่ชื่อ แต่อ้อนแต่ออก ชีวิตวัยเด็ก เธอมีความยากลำบาก มากๆ



แต่ Coco Chanel ได้เปิดร้านเป็นครั้งแรก เมื่อ 1910 ตอนอายุ 27 ปี ในปารีส เริ่มจากการทำชุดนักกีฬาและหมวก ต่อมาปี 1921 เธอได้ออก น้ำหอม Chanel No. 5 ซึ่งมันก็เป็นแค่ กลิ่นของน้ำหอม ตัวอย่างหมายเลข 5 เท่านั้นเอง เบอร์ 5 จึงเป็น lucky number ของเธอ แต่ทุกวันนี้ หลายคนก็ยังนิยมชมชอบ No. 5 อยู่ในปี 1924 Coco Chanel ได้นำดีไซแปลกใหม่ ประมาณว่า เป็นต้มหูไข่มุก ที่ ด้านหนึ่งขาว ด้านหนึ่งดำ เข้ามาสู่สังคมแฟชั่นปารีส





นอกจากนี้ Coco ยังได้นำเอา กระโปรงสั้น เข้ามาในวงการแฟชั่น จนทำให้วงการแฟชั่นช่วงนั้น ต้องเปลี่ยนไปทันที เธอได้เปลี่ยนแปลง หลายสิ่งหลายอย่าง ให้กับวงการแฟชั่นปารีส จริงๆ


Coco Chanel มีชื่อเสียงมา ระยะหนึ่ง ( 1953 ) ช่วงนี้ Christian Dior เริ่มเป็นคลื่น ลูกใหม่ที่แรง เข้ามา และในขณะเดียวกัน การมีนักออกแบบ ปารีสรุ่นใหม่ๆ ทีประสบความสำเร็จ เกิดขึ้นมากมาย
คนดูแล และออกแบบแฟชั่น งานชุดเดรส ใหม่ๆ ของ CocoChanel คือ Karl Lagerfeld ซึ่งวันหลัง คงได้มา เล่า ความเก่ง กล้าสามารถ ของดีไซเนอร์ ปู่ Karl Lagerfeld ให้ได้ฟังกัน เขาเป็นคนที่ เข้ามา ปฏิวัติ Chanel เอามากๆ อีกคน

วิธีทำครัวซองค์




ส่วนประกอบในการทำ


ส่วนผสม 1
เนยหรือมาการีน 1 ถ้วย, แป้งสาลี 1/2 ถ้วย

ส่วนผสม 2
แป้งสาลี 3 3/4 – 4 ถ้วย, เนยหรือมาการีน 1/2 ถ้วย, นมสด 3/4 ถ้วย, ไข่แดง 1 ฟอง, น้ำตาล 1/4 ถ้วย, เกลือ 1/2 – 1 ช้อนชา, ยีสต์ผง 2 ช้อนโต๊ะ


ส่วนผสม 3
ไข่ขาว 1ช้อนโต๊ะ (หรือที่แยกจากไข่ 1 ฟอง), นมสด 1ช้อนโต๊ะ




วิธีทำ
คนเนย 1 ถ้วย กับแป้ง 1/2 ถ้วยให้เข้ากัน ตักใส่กระดาษแก้วห่อคลึงให้เป็นแผ่นยาว 12 นิ้ว กว้าง 6 นิ้ว แช่เย็น 1 ชั่วโมง
ผสมนม น้ำตาล เกลือ เนย ที่เหลือ 1/2 ถ้วยตั้งไฟพอน้ำตาลละลายทิ้งให้อุ่น ใส่แป้ง 1/2 ถ้วย ใส่ยีสต์คนให้เข้ากัน ใส่ไข่คนให้เข้ากัน แล้วจึงค่อยๆ ใส่แป้งที่เหลือคนให้เข้ากัน นวดประมาณ 15 นาที
คลึงให้แป้งเป็นรูปสี่เหลี่ยม 14 x 14 นิ้ว นำเนยที่แช่เย็น วางบนแผ่นแป้ง เพียงครึ่งหนึ่งของแผ่นแป้ง ปิดขอบให้แน่นโดยวิธีบีบแป้งเบาๆ
คลึงให้กว้าง 12 นิ้ว ยาว 21 นิ้ว พับ 3 ส่วน คลึงให้กว้าง 12 นิ้ว ยาว 21 นิ้วเท่าเดิม (ถ้าคลึงแล้วเนยเหลวไหลออกมาให้แช่เย็นก่อนคลึง)
คลึงให้กว้าง 12 นิ้ว ยาว 21 นิ้วอีกครั้ง แล้วพับ 3 ส่วนให้เหลือ 12 x 7 แช่เย็น 45 นาที (ต่อให้สนิทก่อนแช่) ตัดแป้งเป็น 4 ส่วน แล้วคลึงแป้งแต่ละส่วนให้ได้ 20 x 7 นิ้ว
ตัดแต่ละอันให้ได้ 10 ชิ้น จะได้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาว 7 นิ้ว กว้าง 2 นิ้ว แล้วจึงตัดทะแยงจะได้สามเหลี่ยมชายธงสูง 7 นิ้ว ฐานกว้าง 2 นิ้ว
ม้วนจากฐานขึ้นมาหาชาย วางในถาดไม่ต้องทาไขมัน โค้งฐานให้เป็นรุปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว วางทิ้งให้ขึ้น 20 นาที ทาด้วยไข่ขาวที่ผสมนม 1 ช้อนโต๊ะ อบไฟ 375 องศาฟาเรนไฮต์ ประมาณ 12 – 15 นาที เมื่อสุกเอาออกจากเตาวางบนตะแกรง เสริฟอุ่นๆ กับชา กาแฟ
ลองทำกินดูนะคะ :)

มารู้จักเพลง Elle, tu l'aimes




Elle, tu l'aimes


Hélène SEGARA



Elle tu l'aimes si fort si fortAu point, je sais que tu serais perdu sans elleElle tu l'aimes autant je crois que j'ai besoin de toi
Moi j'enferme ma vie dans ton silenceElle tu l'aimes c'est toute la différence
Elle tu l'aimes au point sûrementD'avoir au cœur un incendie qui s'éterniseElle tu l'aimes et moi sans toi en plein soleil j'ai froid
Plus ma peine grandit en ton absencePlus tu l'aimes c'est toute la différence
Elle tu l'aimes si fort si fortAu point, je sais que tu pourrais mourir pour elleElle tu l'aimes si fort, et moi je n'aime toujours que toi








คำอ่าน


แอล ตู แลม
แอล ตู แลม ซิ ฟอร์ต ซิ ฟอร์ตโอ ปวง เชอ เซ เกอะ ตู เซอเคร่ แปร์คดู ซอง แซลแอล ตู แอม โอตอง เชอ ครัว เกอะ เช เบอซวง เดอ ตัว
มัว ชองแฟร์คม์ มา วี ดอง ตง วิลองซ์แอล ตู แอม เซ ตูต์ ลา ดิฟเฟครองซ์
แอล ตู แลม โอ ปวง ซูค์มองดาวัว โอ เกรอ เอิง แนงซองดี กี เซแตร์นีส์แอล ตู แอม เอ มัว ซอง ตัว ออง แปรน โซเลย เช ฟรัว
ปูส์ มา แปรน กรองดี ออง ตง นับซองปูส์ ตู แลม เซ ตูต์ ลา ดิฟเฟครองซ์
แอล ตู แลม ซิ ฟอร์ต ซิ ฟอร์ตโอ ปวง เชอ เซ เกอะ ตู ปูร์เคร่ มูร์ครี ปู แอลแอล ตู แลม ซิ ฟอร์ต เอ มัว เชอ แนม ตูชูร์ เกอะ ตัว


คำแปล


วันอาทิตย์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2553






พระราชวังแวร์ซายส์ (ภาษาฝรั่งเศส: Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่เมืองแวร์ซายส์ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมหานครปารีส พระราชวังแวร์ซายส์เป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคปัจจุบันด้วย







ประวัติ
เดิมนั้น เมืองแวร์ซายส์เป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งเท่านั้น มีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง บริเวณส่วนใหญ่เป็นป่าเขา เยี่ยงชนบทอื่น ๆ ของฝรั่งเศส เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 ยังทรงพระเยาว์ ขณะพระชนมายุได้ 23 พระชันษา ทรงนิยมล่าสัตว์ในป่า และทรงเห็นว่าตำบลแวร์ซายส์น่าจะเหมาะแก่การประทับเพื่อล่าสัตว์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักขึ้นมาใน พ.ศ. 2167 โดยในช่วงแรกเป็นเพียงกระท่อมเล็กๆ สำหรับพักชั่วคราวเท่านั้นเมื่อ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ขึ้นครองบัลลังก์ มีประสงค์ที่จะสร้างพระราชวังแห่งใหม่ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองของพระองค์ จึงเริ่มปรับปรุงพระตำหนักเดิมในปี พ.ศ. 2204 ใช้เงินทั้งหมด 500,000,000 ฟรังก์ คนงาน 30,000 คน และใช้เวลาอยู่ถึง 30 ปีจึงแล้วเสร็จในพ.ศ. 2231 ทุกส่วนทำด้วยหินอ่อนสีขาว เป็นแบบอย่างศิลปกรรมที่งดงามมาก ภาย ในแบ่งออกเป็นห้องๆ เช่น ห้องบรรทม ห้องเสวย ห้องสำราญ ฯลฯ ทุกห้องล้วนมีเครื่องประดับงดงามตระการตาและภาพเขียนที่มีชื่อเสียง ภายในพระราชวังมีภาพวาด ภาพแกะสลักซึ่งแสดงให้เห็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสหลายสมัยสถานที่แห่งนี้เคยใช้เป็นที่เซ็นสัญญาสงบศึกกับอเมริกาในปี ค.ศ 1783 แวร์ซายส์ นับเป็นส่วนหนึ่งของแรงผลักดันที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1789 ต่อมาในปี ค.ศ. 1815 พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ได้เปลี่ยนสภาพพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์ และใช้เป็นสถานที่ลงนามในสัญญาสงบศึกสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับเยอรมัน เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 นอกจากเครื่องประดับที่เก่าแก่ และสูงค่าแล้ว การจัดสวนก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่างดงามยิ่งนัก เพราะมีการตกแต่งประดับประดาด้วยดอกไม้หลากสีสวยงามมาก โดยเฉพาะตอนฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ส่วนที่เป็นป่าสำหรับล่าสัตว์ปัจจุบันใช้เป็นที่ๆให้ผู้เข้าชมไปเดินเล่น พักผ่อน และมีม้าหินให้นั่งเล่นเป็นระยะๆ การก่อสร้างพระราชวังแวร์ซายส์แห่งนี้ได้นำเงินมาจากค่าภาษีอากรของราษฎร ชาวฝรั่งเศส ต่อมาจึงได้มีกองทัพประชาชนบุกเข้ายึดพระราชวังและจับพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อองตัวเนต ประหารด้วย "กิโยติน" ในวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2332 ปัจจุบันพระราชวังแวร์ซายส์ ได้กลายมาเป็นพิพิธภัณฑ์และเปิดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแก่ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชมความสวยงาม หากนับเวลาตั้งแต่ก่อสร้างเสร็จ พระราชวังแห่งนี้ก็มีอายุยืนนานถึง 300 ปีเศษ ที่ยังคงความงามอยู่ได้โดยไม่เสื่อมคลายพระราชวังแวร์ซายส์ได้รับจดทะเบียนให้เป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2522 ที่ประเทศอียิปต์

ประเพณีแต่งงานของฝรั่งเศส


ประเพณีการแต่งงานของฝรั่งเศส
ก่อนพิธีแต่งงาน เจ้าสาวฝรั่งเศสจะมีพิธีอาบน้ำเป็นพิเศษ เพื่อชำระล้างสิ่งไม่ดีงามต่าง ๆ รวมถึงอดีตความทรงจำเกี่ยวกับความรักครั้งก่อน ๆ ให้หมดไป เจ้าบ่าวจะไปรับเจ้าสาวที่บ้านของเธอ เด็ก ๆ จะออกมากั้นทางของทั้งสองด้วยริบบิ้นสีขาวซึ่งเจ้าสาวจะเป็นผู้ตัด พิธีแต่งงานของฝรั่งเศสจะเน้นความขาวบริสุทธิ์เป็นหลัก มีการให้พรจากนักบวชภายในโบสถ์ซึ่งอบอวลไปด้วยเครื่องหอมและดอกไม้ต่าง ๆ ขณะที่ย่างก้าวออกจากโบสถ์ คู่บ่าวสาวก็จะถูกโปรยด้วยเมล็ดข้าวสาลี ในงานเลี้ยงบรรดาแขกเหรื่อจะนำดอกไม้มามอบแก่ทั้งสอง เพื่อฉลองการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่สดใสเหมือนดั่งดอกไม้แรกแย้ม และด้วยเหตุผลเดียวกัน เจ้าสาวฝรั่งเศสมักจะประดับผมของเธอด้วยดอกไม้ หรือไม่ก็สวมหมวกมีดอกไม้ประดับประดาอยู่เจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะดื่มอวยพรให้แก่กันด้วยแก้วพิเศษที่มีที่จับอยู่สองข้าง ทั้งสองจะดื่มให้แก่กันจากแก้วใบเดียวกันนี้เพื่อแสดงถึงการเริ่มต้นการใช้ชีวิตที่เหลือร่วมกัน แก้วหรือถ้วยใบนี้จะถูกเก็บไว้เพื่อสืบทอดต่อไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน




ชุดฝรั่งเศสโบราญ *-*

สไตล์บาโรก (Baroque ~1600 - 1700)
จากยุคก่อนหน้านี้ (สมัยเรอเนอร์สซองส์) สุ่มแบบต่างๆได้เข้ามามีบทบาทกับการแต่งตัวของสาวๆ มาถึงยุคนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ แต่ว่าจะมีลักษณะเปลี่ยนไปเล็กน้อยคือด้านหน้าจะแบนลง เด้งไปป่องด้านหลังแทน ตัวกาวน์ (เสื้อตัวนอก) จะเย็บรวมบอดิซ (bodice) ติดที่เอวแล้วเปิดด้านหน้าไว้ ตรงที่เปิดไว้จะใช้ผ้ารูปสามเหลี่ยมหัวกลับยาวๆ ที่เรียกว่า "สตอมัคเคอร์" (stomacher) เสริมกระดูกดุนให้แข็งๆ แล้วปักลาย หรืออัดด้วยดอกไม้ปลอมให้แน่น หรือประดับด้วยผ้าลูกไม้ แบบที่นิยมที่สุดคือการปิดด้วยริบบิ้นถักสลับไปมา เรียกว่าแบบ "เอแชล" (Eschelle: ขั้นบันได)




กาวน์สวมทับเพตติโคท ผูกสตอมัคเคอร์ประดับเอแชล และแขนอังกายัง 4 ชั้น
แขนเสื้อที่ยาวจรดข้อศอกประดับจีบลูกไม้ลอนฟูเรียกว่า "อังกายัง" (Engageants) แต่ในช่วงต้นของยุคบาโรก จะนิยมแขนเสื้อแบบโป่งพองฟูฝอย โดยใช้ริบบิ้นมัดเป็นช่วงๆ (นึกถึงแหนมสิตัว ,,=w=,,) แขนแบบนี้เรียกว่า "แขนวิราโก" (Virago sleeves)



แขนวิราโกกับสุ่มแบบกางออกข้าง สังเกตได้ว่ากระโปรงจะกว้างมากเพื่อที่สาวๆ จะได้สามารถอวดลายผ้าอลังการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บอดิซแขนอังกายัง 2 ชั้นกับสุ่มแบบกางออกข้าง - แน่นอนว่าเดินหน้าตรงเข้าประตูไม่ได้ ต้องเอียงข้างเข้าค่ะ





ทรงผมที่นิยมในสมัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายแบบ เริ่มจากการหวีเปิดหน้าผาก ตลบผมไปด้านหลังแล้วม้วนเป็นลอนกุนเชียงเล็กๆ เก็บไว้ แบบนี้เรียกว่า "ทรงหัวแกะ" จะเห็นได้จากภาพต่างๆ ด้านบน ยกเว้นภาพเด็กผู้หญิงที่สวมกระโปรงแขนวิราโก เธอไว้ผมแบบ "เฮอร์ลูเบอร์ลู"

Hurluberlu ("scattered brain") hair style - ผมทรง "ขมองกระจาย" v(=w=) (ฮา)
ช่วงท้ายปลายยุค นอกจากสาวๆจะประดับตัวเสื้อกับกระโปรงแบบมหาศาลบานทะโรด ชนิดที่หนักมากจนต้องอาศัยห่วงเหล็กมาช่วยค้ำชุดแล้ว ทรงผมก็อลังการไม่แพ้กัน แฟชั่นสุดเก๋คือทรงแบบ "ฟองตางเก" (Fontange) โดยการเกล้าผมสูงไว้กลางศีรษะ มัดโบเล็กๆ หลายอันด้านหน้า จากนั้นประกบด้วยลูกไม้จีบเป็นแผง 3 - 4 ชั้น วนไล่ขึ้นไปเป็นยอด ด้านหลังกับด้านข้างทิ้งปอยหยิกห้อยและผูกโบว์ยาว






ผมทรงฟองตางเก (อังกฤษเรียก "คอมโมด" :Commode) เล่ากันว่าเกิดจากตอนที่บรรดาราชวงศ์ไปล่าสัตว์ สนมคนหนึ่งของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กลับออกมาจากพงหญ้าในสภาพหัวฟูกระเจิง เนื่องจากเธอแอบไป*ปี๊บ*กับกษัตริย์มา ด้วยความเขินจึงแก้เก้อด้วยการดึงเชือกถุงน่องมารัดผม ทำเนียนเป็นผมทรงใหม่ไฉไลไฮโซไปซะ
.
สไตล์โรโกโก (Rococo ~1700 - 1800)
พูดถึงโรโกโก ยายดาว่าสนุกที่สุดก็คือทรงผม (หัวเราะ) ทรงผมในยุคนี้อลังการบานทะโรดมากก-กกก เรียกว่ายืนอยู่หัวคุ้ง คนท้ายคุ้งมองมาก็รู้ว่าเป็นใครนั่นแหละ (ฮา) ถ้าไม่เชื่อลองดูรูปนี้สิตัว~








ตอนเอารูปในหนังสือให้แนนดู แนนปาดเหงื่อแล้วพูดว่า "คนเราไม่ควรมีเรืออยู่บนหัวจ้ะดา" (ฮา)
อาจจะมีคนเคยได้ยินชื่อ "วิกแบบปอมปาดัวร์" (Pompadure) ก็คือวิกลงแป้งขาวแบบนี้แหละจ้ะ ในช่วงปี 1770 เป็นช่วงที่ขนาดของมันใหญ่ขึ้นถึงขีดสุด แบบที่สาวนำสมัยนิยมใส่กันจะเป็นวิกที่มีความสูงประมาณ 90 cm (3 ฟุตบนหัวน่ะ- - นี่ไม่รวมเครื่องประดับนะคะที่รัก) แบบเบาะๆ เบๆ ก็อยู่ที่ราวๆ 30 cm โครงสร้างของผมเป็นรูปหอคอย ใช้ขนนก อัญมณี ริบบิ้นเสียบๆ เข้าไป ...อา...ไม่อยากจะพูดเลยว่าที่จริงมีอะไรก็โปะลงไปนั่นแหละ (แม้แต่เรือยังโปะไปแล้วนี่คะตะเอง =w=)








ช่วงปี 1780 เริ่มนิยมการดัดหยิกแล้วยีให้โป่งเหมือนเม่น โดยจะยีให้ผมบานออกรอบหน้า แล้วทิ้งหางยาวไว้ถักเปียด้านหลัง ทรงผมแบบนี้หนักมากเลยล่ะ (ที่จริงไม่ต้องบอกก็รู้เนอะ) แล้วก็เทอะทะมากๆ จนยายดาคิดว่านี่อาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ขนาดสุ่มลดลงจากสมัยบาโรกด้วยรึเปล่านะ แบบว่าต้องคอยระวังหัว ไม่มีเวลาไปดูกระโปรงไง :-P




การ์ตูนล้อเลียนของแมกกาซีนในสมัยนั้นเกี่ยวกับวิธีการทำผมของสาวๆ (^^;)
ส่วนเสื้อผ้าจะเริ่มมีการแบ่งเป็นกาว์นกับชุดเสื้อผ้า 2 ชิ้น แบบที่นิยมกันมีอยู่ 3 แบบคือ โรบ อะลา ฟรองเซส โรบ อะลองเกลส และโรบ อะลา โปโลเนส






โรบ อะลา ฟรองเซส(Robe a' la francaise)เป็นแบบที่นิยมในช่วง 1730 - 1780 เป็นกาว์นที่ตัดเย็บแบบมีจีบโป่งด้านหลังและรัดรูปด้านหน้า ชายด้านหลังที่ปล่อยยาวนี้เรียกว่า "วาโต แบค" (Watteau back)ชุดแบบนี้สาวฝรั่งเศสนิยมกันมาก แต่มาเลิกฮิตไปในช่วงหลังเมื่อมีหมอนหนุนสะโพกเข้ามา




โรบ อะลองเกลส(Robe a' l'anglaise)เป็นแบบที่รัดรูปทั้งด้านหน้าและด้านหลัง แบบนี้นิยมในอังกฤษและอเมริกา และได้รับความนิยมไปจนจบสมัย



โรบ อะลา โปโลเนส (Robe a' la polonaise)เป็นชุดชั้นนอกและเพตติโคทที่มีห่วงกลมรองรับเย็บติดกับกระโปรงในลักษณะที่ชั้นนอกพองฟูเหมือนกับห่อกระโปรงตัวในอยู่ ความสูงของตัวโปโลเนสจะสูงประมาณข้อเท้า ไม่กองเรี่ยพื้น
นอกจากนี้ ยังมีแฟชั่นแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นอีก เช่นการประยุกต์ชุดขี่ม้าของสุภาพบุรุษมาให้สุภาพสตรีสวมใส่ แต่ประดับประดาอย่างสวยงาม ชุดแบบนี้เรียกว่า "เรดิงโกท" (Redingote) ลักษณะก็จะคล้ายกับโค้ทยาวตัวใหญ่ (greatcoat) ที่มีปกแบะออก นอกจากนี้ยังนิยมสวมแจ็กเกตกับกระโปรง แจ็กเกตจะมีลักษณะรัดรูปทรงบอดิซแล้วบานออกใต้เอว เรียกว่า "กาซาแก็ง" (Casaquin)



กาซาแก็งกับกระโปรงผ้าลินอน (โพลีเอสเตอร์ผสมลินิน) ปักลวดลาย ที่คอสอดผ้าพันคอเนื้อบางที่เรียกว่า "ฟิชู" (Fichu)

เรดิงโกท - กึ่งๆ จะเป็นชุดขี่ม้าของคุณหนูในยุคนั้น แต่สามารถใส่อยู่บ้านได้ด้วย

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

เพลงประจำชาติฝรั่งเศส //

ลามาร์แซแยส แปลตามตัวว่า เพลงแห่งเมืองมาร์เซย์ เป็นชื่อของเพลงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์ คำร้องและทำนองโดย โคลด โจเซฟ รูเซต์ เดอ ลิสล์ เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 ที่เมืองสตราสบูร์ก ในแคว้นอัลซาซ เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า "Chant de guerre de L Armee du Ghin" (แปลว่า เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์) เดอลิสล์ได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาราเรีย (อยู่ในประเทศเยอรมันนี้ปัจจุบัน) ซึ่งเกิดในประเทฝรั่งเศสผู้หนึ่ง คือ จอมพลนิโคลาสเนอร์ ลัคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจากเมืองมาร์เซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวหน้าทหารเข้ามายังกรุงปารีส ทำให้เพลงนี้เป็นที่รุจักโดยทั่วไปและกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฎิวัติฝรั่งเศสทั่งยังเป็นที่มาของชื่อเพลงลามาร์แซแยสดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันด้วยสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศรับรองให้เพลงลามาร์แซแยสเป็นเพลงชาติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2338 ต่อมาเพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 และพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และมีการนำเพลงอื่นมาใช้เป็นเพลงชาติฝรั่งเศสแทนในระยะเวลาดังกล่าวแทน หลังการปฎิวัติในปี พ.ศ. 2373 เพลงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติในระยะสั้นๆ แต่ก็งดใช้อีกครั้งในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ตราบจนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรเมื่อ พ.ศ. 2422