วันจันทร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2553

































เชิญล้อมวงเข้ามานั่งบนพรมค่ะ วันนี้จะมาเล่าเรื่องฝรั่งให้ฟังเลยขอไม่ปูเสื่อแบบไทยๆอย่างครั้งก่อนละนะคะขอเล่าครั้งและเล็กละน้อยเท่าที่จะหาเวลาได้ ระหว่างนั่งฟัง กรุณาให้เสียงทักทายกันบ้าง อย่ามัวแต่เงียบไม่งั้นคนเล่าจะเก้อขอเริ่มความเป็นมาก่อนว่าทำไมถึงสนใจพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ซึ่งมีพระชนม์ชีพอยู่เมื่อ ค.ศ. 1630-1685 ถ้าเทียบกับไทยก็คือ พ.ศ. 2173- 2228ประมาณรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ของกรุงศรีอยุธยาในตอนแรกไม่รู้จักพระองค์ท่านหรอกค่ะ แต่ว่าเคยอ่านพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เรื่อง "นินทาสโมสร" และ "ชิงนาง"ทรงแปลจาก School for Scandals และ The Rivals ของ Richard Sheridanเป็นเรื่องที่สนุกมาก ทั้งสองเรื่อง ต่อมาเมื่อเรียนวิชา Drama ก็พบว่า เชอริแดนเป็นนักเขียนบทละครโด่งดัง ในยุค Restoration Drama ซึ่งเป็นยุคทองของละครประเภทหัสนาฏกรรม(Comedy) ของอังกฤษRestoration ก็คือยุคของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 นี่เองชีวิตของพระองค์เป็นชีวิตที่โลดโผนเต็มไปด้วยสีสันยิ่งกว่านิยาย แปลกที่ไม่ค่อยจะมีใครเอามาทำหนังกันทั้งที่มีครบทุกรส ทั้งตื่นเต้นผจญภัย โศกเศร้า ระหกระเหิน รักร้อนแรง เรียกว่าเป็นราชันย์ที่มีสีสันมากที่สุดพระองค์หนึ่งของอังกฤษก็ว่าได้อัญเชิญพระฉายาลักษณ์มาให้ชมกันก่อน เป็นการเรียกน้ำย่อย


















ก่อนจะเล่าถึงชีวิตของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ก็ต้องปูพื้นถึงพระบิดาของพระองค์เสียก่อน และคงจะต้องปูค่อนข้างยาวกลับไปถึงพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1ใครดูหนัง Shakespeare in Love คงจำได้ถึงพระราชินีอังกฤษที่เสด็จมาดูละคร องค์นั้นแหละค่ะพระราชินีนาถเอลิซาเบธ นางพญาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษทรงครองราชย์ในฐานะกษัตริย์ ไม่ใช่เป็นมเหสีของพระราชาและดำรงความเป็นนางกษัตริย์ที่ไม่ได้อภิเษกสมรสกับใคร จนสิ้นรัชกาลราชบัลลังก์อังกฤษก็เลยตกเป็นของพระญาติ ซึ่งเป็นราชาแห่งสก๊อตแลนด์ ข้ามดินแดนมาครองอังกฤษ ทรงพระนามว่าพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งราชวงศ์สต๊วต หรือไทยออกเสียงว่า "สจ๊วต" อังกฤษก็เปลี่ยนราชวงศ์จากทิวเดอร์ของพระราชินีนาถ มาเป็นราชวงศ์สจ๊วตนับแต่นั้นพระเจ้าเจมส์ทรงมีพระราชโอรสขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ คือพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 พระบิดาของราชาเจ้าสำราญพระรูปนี้คือพระเจ้าเจมส์ที่ 1 ทูลกระหม่อมปู่ของพระราชาเจ้าสำราญค่ะ














พระโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 สิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์ จึงมีการเลื่อนพระโอรสองค์รองขึ้นมาเป็นรัชทายาทแทน เจ้าชายองค์นี้ต่อมาทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา ในพระนาม พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 น่าจะเป็นราชันย์องค์ที่เคราะห์ร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ทั้งที่จะว่าไปโดยพระนิสัยแล้วก็ไม่ใช่คนเลวทราม กลับจะน่าสงสารเสียด้วยซ้ำเหมือนกับพระชะตาถูกพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกมาตลอดตั้งแต่ขึ้นครองราชย์ ไม่ว่าจะทรงคิดอะไรทำอะไรก็กลายเป็นก่อความขุ่นข้องหมองใจให้ราษฎรอยู่ไม่มีจบสิ้น






คนใกล้ตัวของพระองค์ก็ไม่ได้ช่วยส่งเสริมบารมี ให้พระองค์เป็นที่รักของประชาชน อย่างเช่นดยุคออฟบัคกิ้งแฮม อดีตคู่ขาของพระบิดา และพยายามจะครอบงำพระองค์ในต้นรัชกาล เป็นที่ชิงชังของราชสำนักอย่างมากพี่แกก็เลยถูกลอบฆ่าตายคนใกล้ตัวอีกคนคือพระมเหสี เจ้าหญิงเฮนเรียตตา มาเรีย พระน้องนางของพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของคนอังกฤษเพราะพระราชินีนับถือคริสตศาสนานิกายโรมันคาทอลิค เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ขุนนางใหญ่น้อยตลอดจนราษฎรส่วนใหญ่ที่นับถือคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ รู้สึกตรงกันว่ากลืนลงคอได้ยาก ความแตกต่างด้านนิกายเป็นเรื่องคอขาดบาดตายใหญ่โตในสมัยนั้น ผู้คนก็เลยพากันรังเกียจพระนาง จนเลยมาถึงการเขม่นพระราชาของตนเองไปด้วย





พระเจ้าชาร์ลส์เป็นผู้ที่เชื่อมั่นในพระองค์เอง - ถ้าเรียกแบบสมัยนี้ ส่วนถ้าเป็นสมัยโน้นเขาเรียกกันว่าทรงดื้อหัวชนฝา และไม่ฟังใคร โดยเฉพาะรัฐสภาซึ่งทรงมีเรื่องปะทะขัดแย้งกันในการดำเนินนโยบายการเมือง ทรงปักพระทัยว่าจะทำยังไงก็จะทำยังงั้นให้จงได้ รัฐสภาก็อิดหนาระอาใจกับพระองค์เต็มที โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่ดึงชักคะเย่อกันไปมา พระองค์จะเอา แต่รัฐสภาก็ไม่ให้ หรือไม่มีจะให้ผลก็คือทรงยืนอยู่มุมน้ำเงิน และรัฐสภาก็ยืนอยู่มุมแดง ชกกันไปชกกันมายืดเยื้ออยู่หลายยกพระเจ้าชาร์ลส์ทรงยึดมั่นว่าอำนาจกษัตริย์มาจากพระเจ้า ไม่ได้มาจากประชาชน ในเมื่อรัฐสภาขัดขวางพระองค์ ก็ทรงยุบสภาไปเลยสงครามกลางเมืองก็เลยระเบิดขึ้น






เมื่อเจ้าฟ้าชาร์ลส์ทรงลี้ภัยออกจากอังกฤษในครั้งแรก พระชนม์แค่ 18 ทรงเร่ร่อนไปหลายเมืองในยุโรปแบบไม่มีอะไรจะทำ ฐานะก็ลำบากยากจนเพราะไม่มีใครอุปถัมภ์เรื่องเงินๆทองๆ รวมทั้งพระเจ้าลุง กษัตริย์ฝรั่งเศสเวลาว่างของชายหนุ่มวัย 18 ที่ปราดเปรียวอย่างเจ้าชาย จะมีอะไรน่าสนใจมากไปกว่าเรื่องผู้หญิง ก็เลยทรงได้สาวอังกฤษที่เป็นชาวบ้านหน้าตาสะสวยวัยเดียวกันกับพระองค์ ชื่อลูซี วอลเตอร์ มาเป็นพระสนมคนแรกส่วนที่ว่าพบกันตั้งแต่อยู่ในอังกฤษหรือไปพบกันในยุโรป ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เอาเป็นว่าเมื่อประทับอยู่ที่กรุงเฮก ก็มีพระสนมเรียบร้อยแล้ว ลูซีให้กำเนิดโอรสนอกกฎหมายคนแรกเมื่อเจ้าฟ้าชายมีพระชนม์ 19 เด็กชายคนนั้น ต่อมาเมื่อพระบิดาได้ครองราชย์ เขาได้รับการแต่งตั้งเป็น ดยุคออฟมอนมัธ ชีวิตของเจ้าชายและลูซีเริ่มต้นเหมือนตำนานรักดอกเหมย ประเภทฟันฝ่าฐานันดรรัก จนครองคู่กันได้ แต่ตอนจบกลับตรงกันข้ามทั้งที่ลูซีก็ดูว่ารักใคร่เจ้าชายของหล่อนเป็นอันดี มีทั้งโอรสและธิดา อยู่เคียงข้างกันไม่ห่างต่อมาหนึ่งปีหลังจากนั้นเจ้าชายมีเหตุที่จำเป็นต้องเดินทางไกล ทรงจำต้องทิ้งพระสนมและลูกน้อยเอาไว้ที่กรุงเฮกลูซีเป็นข้อพิสูจน์ของ "สามวันจากนารี...เป็นอื่น" เมื่อเจ้าชายไม่อยู่ หล่อนก็หันไปมีกิ๊กเป็นนายทหารคนหนึ่งแทน เจ้าชายเสด็จกลับมาพบว่าพระสนมมีชู้ไปแล้ว ก็มิได้ลงพระอาญาอย่างใด เพียงแต่เลิกกับหล่อนอย่างเด็ดขาดชีวิตของลูซีก็เลยตกต่ำลงนับแต่นั้น กลายเป็นโสเภณีและสิ้นชีวิตลงด้วยกามโรคในอีก 8 ปีต่อมา










หลังชัยชนะที่วูสเตอร์ ครอมเวลล์ก็ได้ครองอำนาจต่อมาอย่างไร้ผู้ต้านทานได้อีก เป็นเวลานานหลายปี ความเหิมเกริมในอำนาจทำให้เขากลายเป็นผู้เผด็จการ เขาทำสิ่งที่หนักข้อกว่าพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทำหลายเท่า เช่นเมื่อถูกส.ส. คัดค้านเขาก็ยุบสภาเอาดื้อๆ ตั้งสภาใหม่ที่ล้วนแล้วไปด้วยลูกน้องสอพลอประจบประแจง ว่าไงว่าตามกัน เขาลักลอบขายพระราชทรัพย์ของหลวงที่เก็บไว้ใน Tower of London นำเงินไปใช้เพื่อบำรุงอำนาจส่วนตัว ถลุงเงินในท้องพระคลังแทบจะเกลี้ยง ทำสงครามกับเนเธอร์แลนด์ 2 ครั้ง เปลืองเงินทอง ผลักภาระด้านภาษีให้ประชาชนแบก แทบโงหัวไม่ขึ้นครอมเวลล์ห้ามความสนุกสนานร่าเริงทั้งหมดในประเทศ ประชาชนถูกห้ามฉลองคริสต์มาส แต่ถูกบังคับให้ถือศีลอด ในวันนั้นแม้แต่ทหาร เมื่อพ้นประจำเวรยามกลับบ้านก็ต้องกลับมานั่งสวดมนตร์ที่บ้าน จะไปเฮฮากันไม่ได้ชาวบ้านผิวปากร้องเพลงดังๆก็ไม่ได้ ต้องสวดมนตร์แทนบ้านเมืองมีแต่ความตึงเครียด ปีแล้วปีเล่าผู้คนรู้สึกตกต่ำและสิ้นหวังในที่สุด ครอมเวลล์ก็กลายเป็นที่เกลียดชังในสายตาประชาชนคนเดินถนนทั่วไป การต่อต้านเล็กๆน้อยๆลุกลามกันทั่วไป จนกระทั่งเขาตายลงเมื่อ 1658 ความอดทนของประชาชนก็สิ้นสุดลงแม้ว่าครอมเวลล์มอบหมายให้ลูกชายสืบตำแหน่งต่อ แต่ไม่มีผลอะไรอีกแล้ว สาธารณรัฐล้มครืนลงมา สังคมเริ่มเหมือนเรือขาดหางเสือ ประชาชนพร้อมใจกันเรียกร้องสังคมอังกฤษแบบเดิมที่มีรัฐสภาจากการเลือกตั้ง และมีระบอบกษัตริย์กลับคืนมาอีกครั้ง ก่อนสังคมอังกฤษจะเข้าสู่วิกฤต ในที่สุดทหารและรัฐสภาก็ต้านทานกระแสประชาชนไม่ไหว หันเหกลับมายอมรับระบอบกษัตริย์อีกครั้ง






ทางฝ่ายพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ช่วงชีวิตนับแต่พ่ายแพ้ศึกเป็นช่วงตกระกำลำบากอย่างยากจะเชื่อว่าเกิดขึ้นได้กับผู้เป็นเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินทรงยากไร้สิ้นเนื้อประดาตัว เมื่อบากหน้าไปพึ่งฝรั่งเศส สังฆราชมาซาแร็งอัครมหาเสนาบดีผู้กุมอำนาจตัวจริงแทนพระเจ้าหลุยส์ ที่ 13 ก็รังเกียจเดียดฉันท์ขับไล่ ทรงลี้ภัยไปประเทศอื่นๆในยุโรป ผู้นำก็หวังประจบเอาใจผูกมิตรกับครอมเวลล์เพื่อประโยชน์ทางการค้า จึงพากันขับไล่ไสส่งราชาไร้บัลลังก์ จะทรงหมายปองเจ้าหญิงองค์ไหน พระบิดามารดาก็ทรงรังเกียจไม่ยอมยกลูกสาวให้ราชาที่ไร้เงินทองและตำแหน่งเวลาผ่านไปหลายปี เงินทองที่ได้เล็กๆน้อยๆจากพระน้องนาง เจ้าฟ้าหญิงแมรี่ที่เป็นราชินีม่ายแห่งฮอลแลนด์ก็ขาดแคลนลงทุกที เพราะประชาชนชาวดัทช์พากันต่อต้านไม่ยอมให้ส่งเสีย เจ้าชายกับข้าราชบริพารผู้ภักดีไม่กี่คนอยู่ในฐานะยากจนเกือบเท่าขอทานของเสวยก็มีแต่กระหล่ำปลี และเนื้อจวนเน่า เอามาต้มกินประทังชีวิต เช่าห้องเช่าเล็กๆโทรมๆ ที่เจ้าของห้องทวงแล้วทวงอีก เป็นหนี้เป็นสินแม้แต่ค่าอาหารสิ่งเดียวที่ชะโลมพระทัยให้มีกำลังต่อสู้ชีวิตยากแค้นต่อไปได้ คือไม่ทรงท้อถอยปล่อยชีวิตไปตามบุญตามกรรมที่สำคัญคือไม่ละทิ้งความใฝ่ฝันว่าจะทรงกลับไปครองบัลลังก์ในวันหนึ่ง ให้จงได้ทำให้ทรงอดทนต่อชะตากรรม ไม่ปล่อยองค์ให้จมอยู่กับความสิ้นหวังทั้งนี้ ประสบการณ์สร้างพระอุปนิสัยให้เป็นคนหนักแน่น มองโลกในแง่ดี ยิ้มรับอุปสรรคต่างๆที่เข้ามาในชีวิต ไม่ยอมหดหู่เศร้าซึม และทรงทำพระทัยอภัยให้ความผิดพลาดของผู้อื่นได้ เพื่อจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสิ่งเหล่านี้มีคุณค่าอย่างมหาศาลเมื่อได้ขึ้นครองบัลลังก์ ทำให้รัชสมัย Restoration แม้ว่าไม่ใช่สมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอังกฤษ ก็เป็นสมัยที่มีการจดจำกันระดับแถวหน้าของประวัติศาสตร์



รัชสมัยของพระองค์ได้รับการขนานนามว่า Restoration ซึ่งแปลว่าการคืนกลับมาทรงสลายสังคมที่ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ ด้วยความเข้มงวด เขม็งตึงแบบพิวริตันให้กลับมาสู่ความบันเทิงร่าเริงใจอีกครั้ง ประชาชนผ่อนคลายความตึงเครียด มีความสุขมากขึ้น ใครจะร้องเพลง จัดงานรื่นเริง เลี้ยงฉลองคริสต์มาส เต้นรำ สนุกสนานตามแบบเดิม ก็ไม่มีใครห้าม ราชสำนักเต็มไปด้วยเสียงเพลง ละคร ดนตรีและงานรื่นเริง พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ทรงได้รับสมญาว่า The Merry Monarch หรือราชาเจ้าสำราญที่สำคัญก็คือ..มีหญิงงามผู้เรียงแถวเข้ามาครองตำแหน่งพระสนม อย่างไม่เคยมีมาก่อนในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ผู้ซื่อสัตย์ต่อพระราชินีเพียงผู้เดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น